ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีบรรลุธรรม
[๖๙] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑- แก่อุบาลีคหบดี คือ ทรงประกาศทานกถา๒- (เรื่องทาน) สีลกถา๓- (เรื่องศีล) สัคคกถา๔- (เรื่องสวรรค์) กามา- ทีนวกถา๕- (เรื่องโทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)และเนกขัมมานิสังสกถา๖- (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุบาลีคหบดี มีจิตควรบรรลุธรรม มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า(พระองค์ก่อนๆ) ทั้งหลาย ทรงยกขึ้น แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ผ้าขาวสะอาดปราศจากสิ่ง ปนเปื้อน จะพึงรับน้ำย้อมต่างๆ ได้อย่างดี แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคหบดี ขณะที่นั่งอยู่นั่นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ อนุปุพพีกถา หมายถึงเทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่าย @ไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจต่อไป ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้วควรรับน้ำย้อม @ต่างๆ ได้ด้วยดี (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๘) @ ทานกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณของทานหลายนัย เช่น ทานเป็นเหตุแห่งความสุข เป็นมูลราก @แห่งสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ก่อให้เกิดโภคสมบัติทั้งปวง อุปมาด้วยสิ่งต่างๆ ตามความหมายที่มุ่งถึง เช่น @ถ้ามุ่งถึงความหมายว่าเป็นที่ตั้ง ก็อุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ มุ่งถึงความหมายว่าหน่วงเหนี่ยว ก็อุปมาด้วย @เชือกโยง (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๘) @ สีลกถา หมายถึงกถาที่พรรณาคุณของศีลว่าเป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น @ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้า เช่น สมบัติทั้งหลายในโลกนี้และโลกอื่นล้วนอาศัยศีลเป็นที่พึ่งที่อาศัย เป็นต้น จึงได้มา @(ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙) @ สัคคกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณของสวรรค์ว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ และอื่นๆ อีกเป็น @อันมาก (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙) @ กามาทีนวกถา หมายถึงกถาที่พรรณนากามว่ามีโทษมากมีคุณน้อย มีความเลวทรามมาก มีความดีน้อย @มีความเศร้าหมองมาก มีความผ่องแผ้วน้อย มีทุกข์มาก มีสุขน้อย เป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙-๗๐) @ เนกขัมมานิสังสกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณความดีของการไม่ติดใจเพลินอยู่ในกาม ความปลอดโปร่ง @จากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน การออกบวช เพื่อให้มีฉันทะที่จะแสวงหาความดีงาม และความสุขอันสงบที่ประณีต @ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=65&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=1802 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=1802#p65 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]