ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖ ๗. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ เพราะเจริญวิโมกข์ ๘ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ [๒๔๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ๑- ๘ ประการ คือ ๑. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู+อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ @เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายในที่ยังไม่ถึงอัปปนา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ดอกผักตบที่เขียว มีสี เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอัน มีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ดอกกรรณิการ์ที่ เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม หรือผ้า เมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมี อรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำ รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๗. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสี แดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง และมีสีแดงเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกสีขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว และมีสีขาวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ เพราะเจริญอภิภายตนะ ๘ ประการนั้นแล๑- สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๒- อยู่ [๒๕๐] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามเจริญกสิณายตนะ๓- (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ประการ คือ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑-๗๓, ที.ปา. ๑๑/๓๔๖/๒๓๗-๒๓๘ @ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี ในที่นี้หมายถึงเหล่าสาวกเจริญธรรมในสติปัฏฐานเป็นต้น @ก่อน จากนั้นจึงบรรลุอรหัตตผล หรือเป็นผู้อบรมวสีในอภิภายตนะ ๘ ประการนี้ (ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๙) @ กสิณายตนะ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณเป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ @หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิทั้งหมดหรือสิ้นเชิง กล่าวคือวัตถุสำหรับแผ่ไปไม่เหลือ ให้ @ปักใจอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเพียงอารมณ์เดียว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=295&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=8296 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=8296#p295 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]