ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๘๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษ๑- ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าว สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ข้าพระองค์พิจารณา เห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวก ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจาก สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๓. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรง กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าพระองค์ พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรง กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าพระองค์ พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุ ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้สงัด๒- และทรงกล่าวสรรเสริญความสงัด ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มี พระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ @เชิงอรรถ : @ สันโดษ หมายถึงความสันโดษ ๓ ประการ คือ (๑) ยถาลาภสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามมีตามได้ทั้งดีและ @ไม่ดี (๒) ยถาพลสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามกำลังทั้งกำลังของตนและของทายก (๓) ยถาสารุปปสันโดษ @เป็นผู้สันโดษตามสมควรแก่สมณภาวะ @สันโดษ ๓ ประการ ในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงเป็น @สันโดษ ๑๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๘-๕๐) @ เป็นผู้สงัด หมายถึงมีวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่ อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถ @(๒) จิตตวิเวก ได้แก่ ได้สมาบัติ ๘ (๓) อุปธิวิเวก ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๘๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=285&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=7996 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=7996#p285 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]