ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ
[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑- อย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒- ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ ฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓- ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... @เชิงอรรถ : @ ผู้มีศีลอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงศีลที่เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ผู้มีธรรมอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงธรรมอัน @เป็นไปเพื่อสมาธิ (ม.ม.อ. ๒/๑๖๙/๑๓๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ @(๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ @(๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา @๕ ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์ พระโสดาบันละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ @พระสกทาคามีทำสังโยชน์ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้ พระอรหันต์ @ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, ม.มู.อ. ๑/๖๗/๑๗๔-๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=190&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=5302 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=5302#p190 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]