ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๕. ภัททาลิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติ อยู่เนืองๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติ นอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็น ผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจะ พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’ ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์๑- นี้ระงับ ไปโดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๑] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มี อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำ ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม @เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์จะต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑)วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒)อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (ละเมิดสิกขาบท) (๓) อาปัตตาธิกรณ์ @การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะ @ต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน แต่ในที่นี้หมายถึงอนุวาทาธิกรณ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, @ม.มู.อ. ๒/๒๒๒/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๕. ภัททาลิสูตร

ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตาม ความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของ ภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’ ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๒] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มี อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าว ว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่ นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอน ตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้ มีอายุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’ ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไป โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๓] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=158&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=4407 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=4407#p158 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]