ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๘๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

                                                                 ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

ทุกข์ เป็นอย่างไร ทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร ทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ อุปาทาน- ขันธ์๑- ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา(ความทะยานอยากในกาม) ภวตัณหา (ความทะยานอยากเป็นนั่นเป็นนี่) วิภวตัณหา(ความทะยานอยากไม่เป็น นั่นเป็นนี่) นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ อุปาทานขันธ์ หมายถึงอุปาทาน + ขันธ์ คำว่า อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น (อุป = มั่น + อาทาน = ถือ) @หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕ บ้าง (ดู สํ.ข.อ. ๒/๒/๑๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒๑๙/๔๔๒) หมาย @ถึงความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิบ้าง (ดู สํ.ข.อ. ๒/๖๓/๓๐๘) หมายถึงตัณหาบ้าง (ดู ม.มู.อ. @๑/๑๔๑/๓๓๐) คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง (ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึง @“กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่น” ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๕/๒๐๔, @ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๔๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๒/๑๖๖, อภิ.วิ.อ. ๒๐๒/๑๑๗, สํ.ข.ฏีกา ๒๒/๒๕๔, @วิสุทฺธิ. ๒/๕๐๕/๑๒๒ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๘๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=86&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=2483 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=2483#p86 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]