ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๔๖-๓๔๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๙. มหาสาโรปมสูตร

แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรารู้ เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่’ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่า ผู้ยึดเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึง ความพอใจด้วยกระพี้แห่งพรหมจรรย์นั้น
แก่นแห่งพรหมจรรย์
[๓๑๑] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำ อย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภ สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะ ความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่ง สมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึก ยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๔๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๙. มหาสาโรปมสูตร

ยังไม่สมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณ- ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำ อสมยวิโมกข์๑- ให้สำเร็จ เป็นไปไม่ได้เลย๒- ที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดี เห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจที่เขาจะต้อง ใช้แก่นไม้ทำจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความ ทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้ เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึก ยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึง ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความ สมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความ สมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น @เชิงอรรถ : @ อสมยวิโมกข์ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน ๑ @(ม.มู.อ. ๒/๓๑๑/๑๓๙) และดู ขุ.ป. ๓๑/๔๗๘/๓๖๑ @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ(เหตุ) และปฏิเสธโอกาส(ปัจจัย) ที่ให้เป็นไปได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๔๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำญาณทัสสนะให้ สำเร็จ เพราะญาณทัสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะญาณ- ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ เป็นไป ไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ สรรเสริญเป็นอานิสงส์(ผลที่มุ่งหมาย) มิใช่มีความสมบูรณ์แห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่ มีความสมบูรณ์แห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์ นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเป็นเป้าหมาย เป็นแก่น เป็นที่สุด” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาสาโรปมสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์เหล่านี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น คณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติว่าเป็นคนดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๔๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๔๖-๓๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=346&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=9929 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=9929#p346 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๖-๓๔๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]