ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

แล้วอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราก็จักยกวาทะอย่างนี้ขึ้นถาม พระองค์’ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมเสด็จเที่ยว ไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว’ ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระสมณ- โคดมถึงที่ประทับ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากับท่านพระสมณโคดมอีกเลย แล้วจักยกวาทะขึ้นแก่พระสมณโคดมนั้นได้อย่างไรเล่า ที่แท้ย่อมพากัน ยอมเป็นสาวก๑- ของพระสมณโคดมนั่นแล เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรอยที่ ๑ นี้ในพระสมณโคดมแล้ว ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจได้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ ๒. ข้าพเจ้าเห็นพราหมณบัณฑิตบางพวก ฯลฯ ๓. ข้าพเจ้าเห็นคหบดีบัณฑิตบางพวก ฯลฯ ๔. ข้าพเจ้าเห็นสมณบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ละเอียดอ่อน โต้ตอบวาทะของผู้อื่นได้ประหนึ่งว่ายิงขนเนื้อทราย สมณบัณฑิต เหล่านั้นดูเหมือนว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย(ของผู้อื่น)ด้วยปัญญา (ของตน) พอได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น’ ก็พากันคิดผูกปัญหาด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเราจัก เข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากพระสมณโคดมนั้น ถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราจักยกวาทะ อย่างนี้ขึ้นแก่พระองค์ แม้หากพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้ว @เชิงอรรถ : @ เป็นสาวก ในที่นี้หมายถึงเป็นสาวกด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๙/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

อย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราก็จักยกวาทะอย่างนี้ขึ้นแก่พระองค์’ สมณบัณฑิตเหล่านั้นได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมเสด็จเที่ยวไปยัง หมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว’ ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ถึงที่ประทับ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้สมณบัณฑิตเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณบัณฑิตเหล่านั้นผู้อัน พระสมณโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากับท่านพระสมณโคดมอีกเลย แล้ว จักยกวาทะขึ้นแก่พระสมณโคดมนั้นได้อย่างไรเล่า ที่แท้ย่อมพากัน ทูลขอโอกาสกับพระสมณโคดมนั้น เพื่อออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต พระสมณโคดมก็ทรงประทานบรรพชาแก่สมณบัณฑิต เหล่านั้น สมณบัณฑิตเหล่านั้นผู้ได้รับบรรพชาจากพระสมณโคดม ในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว หลีกออก(จากหมู่) ไม่ประมาท มีความ เพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน สมณบัณฑิตเหล่านั้นจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่สูญเสียเลยแม้แต่น้อย เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ สูญเสียเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าในกาลก่อน เราทั้งหลาย ทั้งที่ไม่ เป็นสมณะเลยก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์เลยก็ ปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลยก็ปฏิญญาว่าเป็น พระอรหันต์ บัดนี้ พวกเราเป็นสมณะแล้ว บัดนี้ พวกเราเป็น พราหมณ์แล้ว บัดนี้ พวกเราเป็นพระอรหันต์แล้ว’ เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรอยที่ ๔ นี้ในพระสมณโคดมแล้ว ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจได้ ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=319&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=9130 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=9130#p319 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]