ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๐๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๖. ปาสราสิสูตร

เราเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศก เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ เราเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส๑-
[๒๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศา ดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อผนวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไร เป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้ เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า ‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนา จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้ ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ- วาทะ๒- และเถรวาทะ๓- ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้อย่างแน่นอน’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๒๗-๓๒๙/๓๙๕-๓๙๙, ๔๗๕-๔๗๙/๖๐๐-๖๐๗ และดูข้อ ๓๗๑ หน้า ๔๐๖ ในเล่มนี้ @ ญาณวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙) @ เถรวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=300&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=8573 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=8573#p300 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]