ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๔๒๐-๔๒๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๙ ประการ

(ค) ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ สัตตาวาส๑- ๙ ได้แก่ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน ปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้น อสัญญีสัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๗ ๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๘ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๑ หน้า ๓๕๔-๓๕๕ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๒๗/๗๒-๗๓, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗-๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๙ ประการ

๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙ นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๙ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ๑- ๙ ได้แก่ ๑. เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงเป็นไป ๒. เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ(การได้) จึงเป็นไป ๓. เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงเป็นไป ๔. เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนดด้วยอำนาจความ พอใจ) จึงเป็นไป ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงเป็นไป ๖. เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงเป็นไป ๗. เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงเป็นไป ๘. เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงเป็นไป ๙. เพราะอาศัยอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดขึ้น จากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ และการพูดเท็จ จึง เป็นไป๒- นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรละ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๔๘๐-๔๘๑ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๔๒๐-๔๒๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=420&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=12108 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=12108#p420 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๒๐-๔๒๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]