ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๗ ประการ

ธรรม ๗ ประการ
[๓๕๗] ธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๗ ประการที่ควรละ ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ อริยทรัพย์๑- ๗ ได้แก่ ๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล) ๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) ๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ) ๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ) ๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก (ข) ธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ สัมโพชฌงค์๒- ๗ ได้แก่ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความ เฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๑ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๕/๘ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๗ ประการ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบ กายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้ง จิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ เป็นกลาง) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ วิญญาณฐิติ๑- ๗ ได้แก่ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน ปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ- ฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุด มิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=397&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=11409 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=11409#p397 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]