ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
อเสขธรรม๑- (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ อเสขธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นผลและธรรมที่สัมปยุตด้วยธรรมเป็นผลนั้น เป็นธรรมระดับโลกุตตระของ @พระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๔๘/๓๔๙, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐, ๓/๑๑๒/๓๗๔) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่เห็นอารมณ์ของตนถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๑๐

๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ ๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ ๙. สัมมาญาณะ๑- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย”
สังคีติหมวด ๑๐ จบ
[๓๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกับท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ ดีแท้ สารีบุตร ที่เธอกล่าวสังคีติปริยาย(แนวทางแห่งการ สังคายนา)แก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่าน พระสารีบุตรแล้วแล
สังคีติสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมาญาณะ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ของตนถูกต้อง ทั้งสัมมาทิฏฐิและสัมมาญาณะ @ในพระสูตรนี้หมายถึงปัญญาเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน @(ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=365&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=10451 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=10451#p365 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]