ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๖๓-๓๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๑๐

๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
[๓๔๘] อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒- อันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้ ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)ได้ เป็นผู้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้ ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๓๙-๔๒ @ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง @ความเห็นนี้เท่านั้นจริง” (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๐/๓๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้น อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑- ภิกษุเป็น ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริ ในพยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วใช้สอยปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึง @พิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาว เป็นต้น พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทา @อกุศลวิตก มีกามวิตก (ความตรึกในทางกาม) เป็นต้น พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้าง @ดุร้าย หรือคนพาล เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
อเสขธรรม๑- (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ อเสขธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นผลและธรรมที่สัมปยุตด้วยธรรมเป็นผลนั้น เป็นธรรมระดับโลกุตตระของ @พระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๔๘/๓๔๙, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐, ๓/๑๑๒/๓๗๔) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่เห็นอารมณ์ของตนถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๖๓-๓๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=363&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=10390 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=10390#p363 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๓-๓๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]