ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๕

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้น แล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ สักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
๒๕
[๓๒๒] เหตุแห่งวิมุตติ๑- ๕ ๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม๒- แก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๓- รู้แจ้งธรรม๔- ในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑ ๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้ เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ ๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม ที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตน ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๖/๓๓-๓๕ @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) @ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้ @(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) @ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง @(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๕

๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดงธรรม แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้ เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่งตาม ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ฯลฯ ๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้ สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่ เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๕
๒๖
สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ๑- ๕ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๑/๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=313&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=8896 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=8896#p313 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]