ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๕

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะ เป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะ ความวิบัติแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
๑๒
สัมปทา๑- (ความถึงพร้อม) ๕ ๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ) ๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคะ) ๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค) ๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความถึงพร้อมแห่งโภคะ เป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
๑๓
โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล๒- ๕ ๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของ บุคคลผู้ทุศีล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕/๙๘-๙๙, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๙/๙๓-๙๔, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๕

๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษ ประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่ แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคล ผู้ทุศีล ๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ แห่ง ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๑๔
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล๑- ๕ ๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมี ความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของ บุคคลผู้มีศีล ๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย- บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์ ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๐/๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=304&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=8631 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=8631#p304 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]