ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๒๕๙-๒๗๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

สังคีติหมวด ๓
[๓๐๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๓ ประการ คืออะไร คือ
อกุศลมูล๑- ๓ ๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้) ๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)
กุศลมูล๒- ๓ ๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

ทุจริต๑- ๓ ๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)๒- ๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) ๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
สุจริต๓- ๓ ๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) ๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) ๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
อกุศลวิตก๔- ๓ ๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม) ๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๐ @ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย หรือความประพฤติชั่วทางกายก็ได้ @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๗๙) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๑ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

กุศลวิตก๑- ๓ ๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม) ๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
อกุศลสังกัปปะ ๓ ๑. กามสังกัปปะ (ความดำริในทางกาม) ๒. พยาปาทสังกัปปะ (ความดำริในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในทางเบียดเบียน)
กุศลสังกัปปะ๒- ๓ ๑. เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากกาม) ๒. อพยาปาทสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากการเบียดเบียน)
อกุศลสัญญา ๓ ๑. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม) ๒. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๑๐
กุศลสัญญา ๓ ๑. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม) ๒. อพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)
๑๑
อกุศลธาตุ ๓ ๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท) ๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
๑๒
กุศลธาตุ ๓ ๑. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ) ๒. อพยาปาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท) ๓. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
๑๓
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ) ๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ) ๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๑๔
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ) ๒. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ) ๓. นิโรธธาตุ (ธาตุคือนิโรธ)
๑๕
ธาตุ๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. หีนธาตุ (ธาตุอย่างหยาบ) ๒. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง) ๓. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)
๑๖
ตัณหา ๓ ๑. กามตัณหา๒- (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา๓- (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา๔- (ความทะยานอยากในวิภพ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐-๓๐๑ @ กามตัณหา หมายถึงราคะที่มีกามคุณ ๕ เป็นอารมณ์ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๓๕) @ ภวตัณหา หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ หรือความปรารถนาภพ @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) @ วิภวตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๑๗
ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามภพ) ๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ) ๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)
๑๘
ตัณหา๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ) ๒. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ) ๓. นิโรธตัณหา๒- (ความทะยานอยากในความดับสูญ)
๑๙
สังโยชน์๓- ๓ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๒๐
อาสวะ๔- ๓ ๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๘/๕๗๔ @ นิโรธตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่ถือว่าภพ คือ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทพ @ชั้นกามาวจร ความเป็นเทพชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร ขาดสูญ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, @ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๓๖) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๔/๕๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๒๑
ภพ ๓ ๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
๒๒
เอสนา๑- (การแสวงหา) ๓ ๑. กาเมสนา (การแสวงหากาม) ๒. ภเวสนา (การแสวงหาภพ) ๓. พรหมจริเยสนา (การแสวงหาพรหมจรรย์)
๒๓
วิธา๒- (ความถือตัว) ๓ ๑. เสยโยหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เลิศกว่าเขา) ๒. สทิโสหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอเขา) ๓. หีโนหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้ด้อยกว่าเขา)
๒๔
อัทธา(กาล) ๓ ๑. อตีตอัทธา (อดีตกาล) ๒. อนาคตอัทธา (อนาคตกาล) ๓. ปัจจุปปันนอัทธา (ปัจจุบันกาล) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๙/๕๗๕ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๐/๕๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๒๕
อันตะ ๓ ๑. สักกายอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายะ) ๒. สักกายสมุทยอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายสมุทัย) ๓. สักกายนิโรธอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายนิโรธ)
๒๖
เวทนา๑- ๓ ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)
๒๗
ทุกขตา๒- ๓ ๑. ทุกขทุกขตา (สภาวทุกข์คือทุกข์) ๒. สังขารทุกขตา (สภาวทุกข์คือสังขาร) ๓. วิปริณามทุกขตา (สภาวทุกข์คือความแปรผันไป)
๒๘
ราสี(กอง) ๓ ๑. มิจฉัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน) ๒. สัมมัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน) ๓. อนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๙/๒๗๐ @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๗/๓๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๒๙
ตมะ(ความมืด) ๓ ๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล ๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล ๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
๓๐
อรักเขยยะ(ข้อที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา) ๓ ๑. พระตถาคตทรงมีกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) บริสุทธิ์ ไม่ทรง มีกายทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้ รู้กายทุจริตของเรานี้’ ๒. พระตถาคตทรงมีวจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) บริสุทธิ์ ไม่ทรง มีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้รู้ วจีทุจริตของเรานี้’ ๓. พระตถาคตทรงมีมโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) บริสุทธิ์ ไม่ทรงมี มโนทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้รู้ มโนทุจริตของเรานี้’
๓๑
กิญจนะ๑- (เครื่องกังวล) ๓ ๑. ราคกิญจนะ (เครื่องกังวลคือราคะ) ๒. โทสกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโทสะ) ๓. โมหกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโมหะ) @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๓๒
อัคคิ๑- (ไฟ) ๓ ๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ) ๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ) ๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
๓๓
อัคคิ๒- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล) ๒. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี) ๓. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)
๓๔
รูปสังคหะ ๓ ๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นได้และสัมผัสได้) ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้ แต่สัมผัสได้) ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้และสัมผัสไม่ได้)
๓๕
สังขาร๓- ๓ ๑. ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) ๒. อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) ๓. อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๒ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๓ @ สังขาร ในที่นี้หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งกิจ(หน้าที่)อันเป็นของตน การให้ผลแก่ตน @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๓๖
บุคคล ๓ ๑. เสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษา) ๒. อเสขบุคคล (บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา) ๓. เนวเสขานาเสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)
๓๗
เถระ ๓ ๑. ชาติเถระ (พระเถระโดยชาติ) ๒. ธัมมเถระ (พระเถระโดยธรรม) ๓. สมมติเถระ (พระเถระโดยสมมติ)
๓๘
บุญกิริยาวัตถุ๑- ๓ ๑. ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน) ๒. สีลมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล) ๓. ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา)
๓๙
โจทนาวัตถุ(เหตุที่ใช้โจท) ๓ ๑. ทิฏเฐนะ (โจทด้วยได้เห็น) ๒. สุเตนะ (โจทด้วยได้ยินได้ฟัง) ๓. ปริสังกายะ (โจทด้วยความระแวงสงสัย) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๖/๒๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๔๐
กามุปปัตติ(การเกิดในกามภพ) ๓ ๑. สัตว์ที่มีกามปรากฏเฉพาะหน้ามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ กามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เช่น มนุษย์ เทพบางพวกและ วินิปาติกะบางพวก๑- นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๑ ๒. สัตว์ที่เนรมิตกามคุณได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเนรมิตแล้ว เป็นไปตามอำนาจ ของกามทั้งหลาย เช่น พวกเทพชั้นนิมมานรดี นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๒ ๓. สัตว์ที่ผู้อื่นเนรมิตกามคุณให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ กามคุณที่ผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เช่น พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นี้เป็น กามุปปัตติที่ ๓
๔๑
การเข้าถึงความสุข ๓ ๑. สัตว์พวกที่ทำความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๑ ๒. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์ เหล่านั้นบางครั้งบางคราวก็เปล่งอุทานว่า ‘สุขหนอๆ’ เช่น พวกเทพ ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๒ ๓. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์ เหล่านั้นยินดีเสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ วินิปาติกะบางจำพวก หมายถึงสัตว์จำพวกปลาและเต่า เป็นต้นที่มีที่อยู่ประจำของตน ยกเว้นสัตว์นรก @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๔๒
ปัญญา ๓ ๑. เสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษา) ๒. อเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา) ๓. เนวเสขานาเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)
๔๓
ปัญญา๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิด) ๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง) ๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)
๔๔
อาวุธ๒- ๓ ๑. สุตาวุธ (อาวุธคือสุตะ) ๒. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือปวิเวก) ๓. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)
๔๕
อินทรีย์๓- ๓ ๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรม ที่ยังมิได้รู้) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๖๘/๕๐๓-๕๐๔ @ อาวุธ แปลว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันหรือต่อสู้ ในที่นี้หมายถึงอาวุธในทางธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุตะ @หมายถึงพระพุทธพจน์ (๒) ปวิเวกะ หมายถึงวิเวก(ความสงัด) ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และ @อุปธิวิเวก (๓) ปัญญา หมายถึงปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๙๓/๓๐๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๑-๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาที่รู้ทั่วถึงได้แก่ โสดาปัตติ- ผลญาณ) ๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
๔๖
จักขุ๑- ๓ ๑. มังสจักขุ (ตาเนื้อ) ๒. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์) ๓. ปัญญาจักขุ (ตาคือปัญญา)
๔๗
สิกขา๒- ๓ ๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
๔๘
ภาวนา๓- ๓ ๑. กายภาวนา (การอบรมกาย) ๒. จิตตภาวนา (การอบรมจิต) ๓. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๑/๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๒/๓๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๙/๑๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๔๙
อนุตตริยะ ๓ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม) ๓. วิมุตตานุตตริยะ (การหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม)
๕๐
สมาธิ๑- ๓ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกและไม่มีวิจาร)
๕๑
สมาธิ๒- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาเห็นความว่าง) ๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมอันไม่มีนิมิต) ๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
๕๒
โสเจยยะ๓- (ความสะอาด) ๓ ๑. กายโสเจยยะ (ความสะอาดทางกาย) ๒. วจีโสเจยยะ (ความสะอาดทางวาจา) ๓. มโนโสเจยยะ (ความสะอาดทางใจ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๑/๓๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๕๓
โมเนยยะ๑- (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) ๓ ๑. กายโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย) ๒. วจีโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา) ๓. มโนโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ)
๕๔
โกสัลละ๒- (ความเป็นผู้ฉลาด) ๓ ๑. อายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ) ๒. อปายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม) ๓. อุปายโกสัลละ๓- (ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย)
๕๕
มทะ(ความมัวเมา) ๓ ๑. อาโรคยมทะ (ความมัวเมาในความไม่มีโรค) ๒. โยพพนมทะ (ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว) ๓. ชีวิตมทะ (ความมัวเมาในชีวิต)
๕๖
อธิปไตย๔- ๓ ๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) ๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) ๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๓/๓๖๙ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๗๑/๕๐๕ @ อุปายโกสัลละ หมายถึงปัญญาที่รู้จักวิธีทำการงานทั้งฝ่ายเสื่อมและฝ่ายเจริญ (ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๗๐) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๐/๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๓

๕๗
กถาวัตถุ ๓ ๑. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้ว ได้มีแล้วอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอดีต ๒. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังมาไม่ถึง จักมีอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอนาคต ๓. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ปรารภกาล ส่วนปัจจุบันนี้
๕๘
วิชชา๑- ๓ ๑. วิชชาคือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้) ๒. วิชชาคือจุตูปปาตญาณ (ความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย) ๓. วิชชาคืออาสวักขยญาณ (ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย)
๕๙
วิหารธรรม(ธรรมเป็นเครื่องอยู่) ๓ ๑. ทิพพวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพ) ๒. พรหมวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) ๓. อริยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ)
๖๐
ปาฏิหาริย์๒- ๓ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๐/๒๓๐-๒๓๑ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๑/๒๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๔

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๓ จบ
สังคีติหมวด ๔
[๓๐๖] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๔ ประการ คืออะไร คือ
สติปัฏฐาน๑- (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๒/๓๐๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๙-๒๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=259&pages=18&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=7398 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=7398#p259 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๙-๒๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]