ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

                                                                 เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ

ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของ บุรุษไปพิจารณากระดูกและรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนด โดยส่วนสอง คือ ที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกหน้า นี้เป็น ทัสสนสมาบัติประการที่ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องทัสสนสมาบัติ
เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ
[๑๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม บุคคล ๗ จำพวกนี้๑- คือ ๑. อุภโตภาควิมุต๒- (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน) ๒. ปัญญาวิมุต๓- (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ๓. กายสักขี๔- (ผู้เป็นพยานในนามกาย) ๔. ทิฏฐิปัตตะ๕- (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) ๕. สัทธาวิมุต๖- (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๔/๒๐-๒๑ @ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ @วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป เพราะ @เห็นด้วยปัญญา และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

                                                                 เทศนาเรื่องปฏิปทา

๖. ธัมมานุสารี๑- (ผู้แล่นไปตามธรรม) ๗. สัทธานุสารี๒- (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ
เทศนาเรื่องปธาน
[๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปธานก็นับว่ายอดเยี่ยม โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปธาน
เทศนาเรื่องปฏิปทา
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม ปฏิปทา๓- ๔ ประการนี้ คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) @เชิงอรรถ : @ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๖/๒๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=111&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=3194 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=3194#p111 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]