ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๗๒-๗๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

                                                                 วิญญาณฐิติ ๗ ประการ

กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต เกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ คำที่เป็นเพียงชื่อ ความหมาย คำที่ใช้ตาม ความหมาย บัญญัติ คำบัญญัติ ความเข้าใจ สื่อความเข้าใจ วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ ตลอดกาลเพียงใด วัฏฏะย่อมหมุนไปตลอดกาลเพียงนั้น ภิกษุชื่อว่าหลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้น ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้นว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘พระอรหันต์ย่อมไม่รู้ไม่เห็น’ การกล่าวของ ผู้นั้นก็ไม่สมควร’
วิญญาณฐิติ ๗ ประการ
(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
[๑๒๗] อานนท์ วิญญาณฐิติ๑- ๗ ประการ และอายตนะ ๒ ประการนี้ วิญญาณฐิติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๒- และวินิปาติกะบางพวก๓- นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, ๓๕๗/๒๕๘-๒๕๙, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๔/๔๘๑-๔๘๒ @ เทพบางพวก หมายถึงพวกเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ @(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) @ วินิปาติกะบางพวก ในที่นี้หมายถึงยักษิณีและเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

                                                                 วิญญาณฐิติ ๗ ประการ

๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา๑- เกิดในปฐมฌานและเหล่าสัตว์ผู้เกิดใน อบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพที่เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๗ อายตนะ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสัญญีสัตตายตนะ (อายตนะของสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา) นี้เป็นอายตนะ ที่ ๑ ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อายตนะของสัตว์ผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่) นี้เป็นอายตนะที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌาน ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวาร @มหาพรหม) (๒) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าวมหาพรหม) @(ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๗๒-๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=72&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=2084 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=2084#p72 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๒-๗๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]