ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๔๖๖-๔๖๗.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท พระบัญญัติ

ภิกษุพวกนั้นถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อ หยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการกสงฆ์ เที่ยว ใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียง เพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ ปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วจึงไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการก สงฆ์ เที่ยวใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่า อัสสชิและปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น ตำหนิภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ สึกไปก็มี จริงหรือ” ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้ง หลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ สึกไปก็มีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๓๖] ก็ ภิกษุอยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ประทุษร้าย ตระกูล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๖๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

และได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออก จากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวกภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง และลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุ บางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่า กล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะ ความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง และ ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ ประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ ที่นี้” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่ อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้ สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๗] คำว่า ก็ภิกษุ...หมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า หมู่ บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม คำว่า อยู่อาศัย คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เนื่องในหมู่บ้านและนิคมนั้น ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๖๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๖๖-๔๖๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=466&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=13065 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=13065#p466 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๖-๔๖๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]