ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๔.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
เรื่องพระเทวทัต
[๔๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักร๑- ของพระสมณโคดม” เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า “พระสมณโคดม มีฤทธานุภาพมาก ทำอย่างไร พวกเราจึงจะทำลายสงฆ์ ทำลาย จักรของพระสมณโคดมได้เล่า”
วัตถุ ๕ ประการ
พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งกลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระ สมณโคดมแล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัส สรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการ เหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ @เชิงอรรถ : @ ทำลายสงฆ์ คือ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำลายจักร คือ ทำลายหลักคำสอน (จกฺกเภทายาติ อาณา- @เภทาย, วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, จกฺกเภทนฺติ สาสนเภทํ วชิร. ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’ พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจักใช้วัตถุ ๕ ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้ เพราะยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอนๆ” ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระ ผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้า พระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยว บิณฑบาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จง ถือผ้าบังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เราอนุญาตถือ เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้นึกสงสัย” ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ พร้อมกับบริษัท ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณแล้วจากไป [๔๑๐] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕ ประการชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท พระบัญญัติ

แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจง สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด” บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก” ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ ทำลายจักรของพระผู้มีพระภาคเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก น้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียร พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพระเทวทัต โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่าเธอเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ ทำลายจักร จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๑๑] ก็ ภิกษุใดเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือถือ ยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม เพรียง หรือถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=441&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=12373 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=12373#p441 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]