ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๓๓.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด มีการงาน มีชาติวรรณะ มีชื่อ มี ตระกูล มีลักษณนิสัย มีคุณธรรมมีอารมณ์อย่างไร เป็นเถระ นวกะหรือมัชฌิมะ๑- นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อาศัยการเที่ยวขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะใช้ผืนผ้าที่ถูกทำให้เสียราคา๒- ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเรียกกันโดยโวหาร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ยัง ต้องศึกษา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ไม่ต้องศึกษา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้อง สมควรแก่เหตุ ในภิกษุที่ กล่าวมานั้น ภิกษุผู้ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้อง สมควรแก่เหตุนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา ในสิกขา ๓ นั้น อธิสีลสิกขานี้ที่ทรงประสงค์เอาในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า สาชีพ หมายถึง สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ ภิกษุ ศึกษาสาชีพนั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสาชีพ คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ มีพุทธาธิบายว่า ภิกษุ ทั้งหลาย การเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการบอกคืนสิกขาก็มี การเปิดเผยความ ท้อแท้ และเป็นการบอกคืนสิกขาก็มี @เชิงอรรถ : @ เถระ พระผู้ใหญ่ ตามวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป นวกะ ภิกษุผู้มีพรรษายังไม่ครบ ๕ @มัชฌิมะ ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา(วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓) @ เสียราคา เพราะทำให้เสียสี ๑ เพราะใช้ศัตราตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ๑ เพราะทำให้เป็นตำหนิด้วยการ @ทำพินทุกัปปะ ๑ (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓-๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=33&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=898 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=898#p33 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]