ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๒๘๔.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเพ่งองค์กำเนิด ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด เพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม ภิกษุใดเพ่งดู ภิกษุนั้น ต้อง อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔๐)
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าช่องดาล ๒ เรื่อง
[๒๖๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึง สอดองคชาตเข้าช่องดาล๑- น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต เข้าช่องดาล แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๒)
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับไม้ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาไม้มา เสียดสีองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส @เชิงอรรถ : @ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, (กรุงเทพฯ : รพ.อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๖) หน้า @๒๙๘ “ช่องดาล” คือ รูสำหรับเขี่ยลูกดาล ช่องสำหรับไขดาล ส่วนเหล็กสำหรับไขดาลมีรูปเป็นมุมฉาก ๒ @ทบอย่างคันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า “ลูกดาล” คำว่า “ดาล” เป็นชื่อกลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัด @บานประตู เช่น ประตูโบสถ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๘๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๘๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=284&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=8045 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=8045#p284 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]