ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน

อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว อานาปานสติสมาธิที่เจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและทำอกุศล ธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๑- มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า๒-
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๓-
(๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว (๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น (๓) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า (๔) สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า (๕) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า (๖) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า (๗) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า @เชิงอรรถ : @ กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน @ ตามอรรถกถาวินัยนี้ อัสสาสะ หายใจออก ปัสสาสะ หายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ @อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖) ส่วนตามอรรถกถาพระสูตร กลับกัน อัสสาสะ หายใจเข้า ปัสสาสะ @หายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.อ. ๒/๓๐๕/๑๓๖) @ ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน

(๘) สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า (๙) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า (๑๐) สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า (๑๑) สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า (๑๒) สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า (๑๓) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า (๑๔) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า (๑๕) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า (๑๖) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า”
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
[๑๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้น เหตุทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายฆ่าตัวตาย เองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=137&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=3874 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=3874#p137 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]