ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             คือ จุติจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อุปบัติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
*เวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต โดยอนันตรปัจจัย
	กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่วิปากมโนธาตุ โดยอนันตรปัจจัย
	วิปากมโนวิญญาณธาตุ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่กิริยามโนวิญญาณธาตุ
โดยอนันตรปัจจัย
	ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุเวทนา
โดยอนันตรปัจจัย
	กุศลและอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา
	กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย
	[๑๑๕๙] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*ทุกขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เกิดหลังๆ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	[๑๑๖๐] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	คือ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ เป็นปัจจัยแก่วิปากมโนธาตุ โดยอนันตรปัจจัย
	ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
*สุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	[๑๑๖๑] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต-
*ด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์-
*ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
*สุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
	โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค
	โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค
	มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล
	ผลเป็นปัจจัยแก่ผล
	อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
	เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	[๑๑๖๒] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต-
*ด้วยสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	คือ จุติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อุปบัติจิตที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	อาวัชชนจิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	วิปากมโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่วิปากมโนวิญญาณธาตุ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดย-
*อนันตรปัจจัย
	ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
โดยอนันตรปัจจัย
	กุศลและอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุต-
*ด้วยสุขเวทนา
	กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
	ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
	เนวสัญญานาสัญญายตนะของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	[๑๑๖๓] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต-
*ด้วยทุกขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย
	คือ อวัชชนจิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยอนันตร-
*ปัจจัย
	[๑๑๖๔] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยสมนันตรปัจจัย
	เหมือนกับอนันตรปัจจัย
	[๑๑๖๕] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยสหชาตปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย
ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาต-
*ปัจจัย
	[๑๑๖๖] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*ทุกขเวทนา โดยสหชาตปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย
ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย
	ปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมไม่ได้
	[๑๑๖๗] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต-
*ด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยสหชาตปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย
ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑
โดยสหชาตปัจจัย
	[๑๑๖๘] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยอัญญมัญญปัจจัย
	ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
โดยนิสสยปัจจัย
	อัญญมัญญปัจจัยก็ดี นิสสยปัจจัยก็ดี เหมือนกับสหชาตปัจจัย
	[๑๑๖๙] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุข-
*เวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนา ให้ทาน
สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ยังฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ให้ เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้ เกิดขึ้น ยังมรรคให้ เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้ เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ
	บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา อาศัยกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
	ในหมวดที่มีศรัทธาเป็นที่ ๕ พึงเพิ่มคำว่า ก่อมานะ ถือทิฏฐิเข้าด้วย ส่วนหมวดที่
เหลือไม่ต้องเพิ่ม
	บุคคลถือสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
ตัดที่ต่อ ปล้นไม่เหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง ดักในทางเปลี่ยว คบภรรยาของชายอื่น ฆ่า
ชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
	ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
แก่กายวิญญาณที่สหคตด้วยสุขแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๐] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*ทุกขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ยังตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์อันมีความแสวงหาเป็นมูล
	บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ยังตนให้เดือดร้อน
ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์อันมีความแสวงหาเป็นมูล
	บุคคลอาศัยราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัย
กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ฆ่าสัตว์
	บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่มีส่วนเหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง
ดักในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่า
พระอรหันต์ ยังพระโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตโทสะประทุษร้าย แล้วทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
	ศรัทธาอันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่โทสะ
ฯลฯ โมหะ แก่กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยทุกข์ แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๑] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๓ อย่างคือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน
สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ยังฌานอันสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้ เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้ เกิดขึ้น ยังมรรคให้ เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้
เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ
	บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ให้ทาน
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้
ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
ตัดที่ต่อ ปล้นไม่มีส่วนเหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง ดักอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของ
ชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม
	ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา แก่ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความ
ปรารถนา แก่กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๒] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*ทุกขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยโทสะ ฆ่าสัตว์ ย่อมถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของมิได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
	บุคคลอาศัยโมหะ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
	โทสะ โมหะ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ เป็นปัจจัยแก่โทสะ โมหะ กายวิญญาณ
ที่สหรคตด้วยทุกข์ แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๓] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยโทสะให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น ถือเอาของสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	อาศัยโมหะ อาศัยกายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	โทสะ โมหะ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา ฯลฯ แก่กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดย
อุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๔] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยโทสะ ให้ทานด้วยจิตอันสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	อาศัยโมหะ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
*เวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	โทสะ โมหะ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยทุกข์ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
	[๑๑๗๕] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๓ อย่างคือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๖] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ
	บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ อาศัยความปรารถนา ให้ทาน
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิต
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
	ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณที่สหรคตด้วย
สุข เป็นปัจจัยแก่ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา แก่กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข แก่ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	[๑๑๗๗] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
	ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ยังตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์ อันมีความแสวงหาเป็นมูล
	บุคคลที่อาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ อาศัยความปรารถนา ฆ่าสัตว์
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
	ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ โทสะ
โมหะ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
	[๑๑๗๘] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา โดยอาเสวนปัจจัย
	คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย
	อนุโลมญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
	อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแก่โวทาน
	โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค
	โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย
	[๑๑๗๙] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา โดยอาเสวนปัจจัย
	คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย
	[๑๑๘๐] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอาเสวนปัจจัย
	คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย
	อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
	อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน
	โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค
	โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย
	[๑๑๘๑] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุข
เวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก
	ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย
	ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วิบากทั้งหลาย
แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๒] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
วิบากทั้งหลาย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๓] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วิบาก
ทั้งหลาย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๔] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก
	ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย
	ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วิบากทั้งหลาย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๕] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่เจตนาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๖] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก
	ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุต
ขันธ์ โดยกัมมปัจจัย
	ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๗] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย-
*แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ซึ่งเป็นวิปาก โดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๘] ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต-
*ด้วยทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย
	มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย-
*แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ซึ่งเป็นวิบากโดยกัมมปัจจัย
	[๑๑๘๙] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยวิปากปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดย-
*วิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ฯลฯ
	[๑๑๙๐] ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*ทุกขเวทนา โดยวิปากปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดย-
*วิปากปัจจัย ฯลฯ
	ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*อทุกขมสุขเวทนา โดยวิปากปัจจัย
	คือ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเป็นวิปาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์-
*ทั้งหลาย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
	[๑๑๙๑] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย-
*สุขเวทนา โดยอาหารปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ฌาน-
*ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดย นัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดย วิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อวิคต-
*ปัจจัย

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๑๕๗๘๒-๑๖๐๕๓ หน้าที่ ๖๒๔-๖๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=15782&Z=16053&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=40&A=15782&w=อุปบัติจิต&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=149              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=1140              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=40&A=7541#1158top              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=40&A=7541#1158top              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_40

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]