ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
	ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา
	สุตมยปัญญา เป็นไฉน
	ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
	ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
	[๘๐๕] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
	สีลมยปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
	ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
	[๘๐๖] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม  สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา
	อธิจิตปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ นี้
เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
	อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา
	[๘๐๗] อายโกศล เป็นไฉน
	บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล
	อปายโกศล เป็นไฉน
	บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า
อปายโกศล
	ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบาย แก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น
เรียกว่า อุปายโกศล
	[๘๐๘] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญาใน
กุศลธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพยากตธรรม
ในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา
	[๘๐๙] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทิน-
*นุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิย-
*ปัญญา
	[๘๑๐] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา
	[๘๑๑] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า
อุเปกขาสหคตปัญญา
	[๘๑๒] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔
ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา
	[๘๑๓] ปัญญาในมรรค ๔ ในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓
ในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวเสกขนา-
*เสกขปัญญา
	[๘๑๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
ปริตตปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม อรูปาวจร-
*กุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา
	[๘๑๕] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา
	มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา
	อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภ
อัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา
	[๘๑๖] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ชื่อมัคคเหตุกปัญญา
	มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา
	[๘๑๗] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินี
ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยา-
*กตธรรมในภูมิ ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปปาทินี
	[๘๑๘] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอดีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญา
ก็มี เป็นปัจจุปันนปัญญาก็มี
	[๘๑๙] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา
	อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณปัญญา
	ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา
	[๘๒๐] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธาปัญญา
ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี
	[๘๒๑] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณปัญญา
	พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณปัญญา
	อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
	ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธา-
*รัมมณปัญญา
	ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิเทส
[๘๒๒] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัยมีผล โลก นี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ สมณ- *พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสส- *กตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็นสาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌาน ขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ [๘๒๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้แม้ในทุกข์นี้ ความรู้แม้ใน ทุกขสมุทัยนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ ทุกขญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ- *ทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๘๒๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา [๘๒๕] ธัมมญาณเป็นไฉน ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและอนาคต ด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข- *สมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการ ส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ ปริจจญาณ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต (ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า จิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า จิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิต เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็น มหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระก็รู้ชัดว่า จิต เป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิต หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์ เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด นี้เรียกว่า ปริจจญาณ ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า สัมมติญาณ [๘๒๖] อาจย โนอปจยปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจย โนอปจยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยอปจย- *ปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา [๘๒๗] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย ด้วยปัญญาใด แต่ไม่ได้ แทงตลอดอภิญญาและสัจจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายนั้นแล ได้แทงตลอด อภิญญา ด้วยปัญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิเวธ- *โนนิพพิทาปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา [๘๒๘] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคล ผู้ได้ ปฐมฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้นชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรม นั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยฌานที่ไม่มี วิตกซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา- *ญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติย- *ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบ ด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติย- *ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญาชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยสุข ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถ- *ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตน- *ฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา- *ญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูป ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสา- *นัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควร แก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญาชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสห- *รคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไปยังโยคา- *วจรบุคคลผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หาน- *ภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามน- *สิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ยังโยคา- *วจรบุคคลผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หาน- *ภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามน- *สิการอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสส- *ภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี [๘๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน ธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ๔ [๘๓๐] ปฏิปทาปัญญา ๔ เป็นไฉน ปฏิปทาปัญญา ๔ คือ ๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา ๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา ๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา ๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา ในปฏิปทาปัญญา ๔ นั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก รู้ฐานะ นั้นก็ช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก แต่รู้ฐานะ นั้นเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากลำบาก แต่ รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้ ฐานะนั้นก็เร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิปทาปัญญา [๘๓๑] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน อารัมมณปัญญา ๔ คือ ๑. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา ๒. ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา ๓. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา ๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา ในอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป เล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป หาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ [๘๓๒] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชรามรณะนี้ ญาณแม้ ในชรามรณสมุทัยนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธคา- *มินีปฏิปทานี้ ชรามรณญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภชรา- *มรณนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชาตินี้ ฯลฯ ญาณแม้ในภพนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในอุปาทานนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในตัณหานี้ ฯลฯ ญาณแม้ใน เวทนานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในผัสสะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสฬายตนะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในนามรูปนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในวิญญาณนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสังขารนี้ ญาณแม้ในสังขารนี้สมุทัยนี้ ญาณแม้ในสังขารนี้โรธนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธ- *คามินีปฏิปทานี้ ในญาณเหล่านั้น สังขารญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภสังขารสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ สังขารนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธคามินี ปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ญาณวัตถุ หมวดละ ๔ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิเทศ
[๘๓๓] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่ แสงสว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อ ว่า ปัญญาที่แผ่สุขไป ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพพจักขุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคล ผู้ออกจากสมาธินั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ [๘๓๔] สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบาก ต่อไปด้วย ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณ เกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้น เฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิมีญาณ ๕
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๑๐๓๐-๑๑๓๕๒ หน้าที่ ๔๗๕-๔๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=11030&Z=11352&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=11030&w=เธˆเธดเธ™เธ•เธฒเธกเธขเธ›เธฑเธเธเธฒ&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=63              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=801              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=8672#804top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=10166              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=8672#804top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=10166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb16/en/thittila#pts-p-pi319

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]