ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๓๘] สภาพที่คิด สภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง สภาพที่ออกแห่งจิต
สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพแห่งจิตเป็นเหตุ สภาพแห่งจิตเป็นปัจจัย สภาพที่
เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจิต สภาพที่
เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่ง
แห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๓๙] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้ง ...
สภาพที่รู้ชัด ... สภาพที่จำได้ ... สภาพที่จิตมั่นคง ... สภาพที่เนื่อง ... สภาพที่
แล่นไป ... สภาพที่ผ่องใส ... สภาพที่ตั้งมั่น ... สภาพที่หลุดพ้น ... สภาพที่เห็น
ว่านี่ละเอียด ... สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน ... สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ... สภาพ
ที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ... สภาพที่อบรม ... สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี ... สภาพที่กำหนด
ถือไว้ ... สภาพที่เป็นบริวาร ... สภาพที่เต็มรอบ ... สภาพที่ประชุม ... สภาพที่
อธิษฐาน ... สภาพที่เสพ ... สภาพที่เจริญ ... สภาพที่ทำให้มาก ... สภาพที่รวม
ดี ... สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี ... สภาพที่ตรัสรู้ ... สภาพที่ตรัสรู้ตาม ... สภาพที่
ตรัสรู้เฉพาะ ... สภาพที่ตรัสรู้พร้อม สภาพที่ตื่น ... สภาพที่ตื่นตาม ... สภาพที่
ตื่นเฉพาะ ... สภาพที่ตื่นพร้อม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ ... สภาพ
ที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะ
... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม ... สภาพที่สว่าง ... สภาพที่สว่าง
ขึ้น ... สภาพที่สว่างเนืองๆ ... สภาพที่สว่างเฉพาะ ... สภาพที่สว่างพร้อมใน
ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๐] สภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง สภาพที่
อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน สภาพที่อริยมรรค
ปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพที่อริยมรรคสงบ สภาพที่
อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก
สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพที่ดับ
สภาพแห่งความประพฤติความดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติใน
ความปล่อย สภาพที่พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง ฯ
	[๔๑] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นบาท
แห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ สภาพที่
น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ
สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๒] สภาพแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นบาท
แห่งวิริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวิริยะ สภาพที่สำเร็จแห่งวิริยะ สภาพที่น้อม
ไปแห่งวิริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ สภาพที่ไม่
ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๓] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาทแห่งจิต
สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่น้อมไปแห่งจิต
สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๔] สภาพแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นบาท
แห่งวิมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา สภาพที่สำเร็จแห่งวิมังสา สภาพ
ที่น้อมไปแห่งวิมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวิมังสา สภาพที่ตั้งมั่นแห่ง
วิมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา สภาพที่เห็นแห่งวิมังสา ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง ฯ
	[๔๕] สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัย
ปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่ง
สมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัย
เกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพที่นิโรธสลัดออก
สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ
สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่
มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๖] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ
สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่
ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพ
ที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๗] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความ
กำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๘] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การ
พิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วย
ความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความ
สละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณา
เห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรม
ไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การ
พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๔๙] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผล
สมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๕๐] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมไป วิริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้
สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วย
ความว่าเห็น ศรัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา วิริยพละ
ด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญา
พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๕๑] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วย
อรรถเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์ด้วย
อรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุก
อย่าง ฯ
	[๕๒] สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความว่าตรึก
สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่าให้กุศลธรรมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วยความว่าประคองไว้ สัมมาสติ
ด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๕๓] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว
โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้ง
มั่นสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่า
เที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและ
วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
	[๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น วิชชาด้วยความว่า
แทงตลอด วิมุติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณ
ในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วย
ความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม
สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่า
ประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ วิมุติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงใน
อมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง
	[๕๕] ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว ชื่อว่าญาณ
เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมา
แล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณ ฯ
จบทุติยภาณวาร ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๕๒-๔๕๕ หน้าที่ ๑๕-๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=352&Z=455&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=352&w=ไม่มีระหว่าง&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=5              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=406#38top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=2304              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=406#38top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=2304              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]