ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙
ว่าด้วยเมถุนธรรม
[๓๒๑] [พระผู้มีพระภาคตรัสว่า] แม้ความพอใจในเมถุนธรรม มิได้มี เพราะ เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนา จะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า. [๓๒๒] คำว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรม มิได้มี เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความว่า ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในเมถุนธรรม มิได้มี เพราะเห็น คือ ประสบมารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรม มิได้มี เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย. [๓๒๓] คำว่า ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระอันเต็มด้วยมูตร และกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า ความว่า ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระนี้อันเต็มด้วยมูตร เต็มด้วยกรีส เต็มด้วยเสมหะ เต็มด้วยเลือด มีกระดูกเป็นโครง มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องผูกพันไว้ มีเลือดและเนื้อเป็นเครื่องฉาบทา อันหนังหุ้มห่อ ไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ มีช่องน้อยและช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกเป็นปกติ อันหมู่หนอนอาศัยอยู่ บริบูรณ์ด้วยมลทินโทษต่างๆ เราไม่ปรารถนาจะเหยียบด้วยเท้า การสังวาสหรือสมาคมด้วยสรีระนั้น จะมีแต่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระ อันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรม มิได้มี เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระ อันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้น แม้ด้วยเท้า. [๓๒๔] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า) ถ้าท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตนะ เช่นนี้ ที่พระราชาเป็นอันมาก ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนปรารถนากันแล้วไซร้ ท่านย่อมกล่าวทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และอุปัตติภพว่าเป็นเช่นไร. [๓๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ) การถึงความตกลงในธรรม ทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้ว ซึ่งความสงบภายใน. [๓๒๖] คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ในคำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น ความว่า เราย่อมกล่าวสิ่งนี้ กล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านั้น กล่าวโดยเหตุเท่านั้น กล่าวทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้. คำว่า ย่อมไม่มีแก่เรา นั้น คือ มิได้มีแก่เรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ... เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น. พระผู้มี พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ.
ว่าด้วยทิฏฐิ ๖๒
[๓๒๗] คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว ถือมั่น ความว่า ในทิฏฐิ ๖๒. คำว่า ถึงความตกลง ความว่า ตัดสินแล้ว คือ ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว จึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมมือรวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่นอน เป็นตามสภาพ เป็นตามจริง มิได้วิปริต ดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันตถาคต ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. [๓๒๘] คำว่า ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ ความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย เราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิ ทั้งหลาย จึงไม่ถือมั่น. อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่องประกอบไว้ มีทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไป เพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม ... ไม่เป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เรา เห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถืออย่างนี้ ลูบ คลำอย่างนี้ ย่อมเป็นผู้มีคติอย่างนี้ มีภพหน้าอย่างนี้ จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่าง นี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ เป็นไปเพื่อให้เกิดใน นรก เป็นไปเพื่อให้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อให้เกิดในเปรตวิสัย จึงไม่ถือ ไม่ ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุง แต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้ง หลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงลูบคลำ ไม่พึงยึดมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ก็เราเห็นโทษ ในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ. [๓๒๙] คำว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่งความสงบภายใน ความว่า ซึ่งความ สงบ ความเข้าไปสงบ ความดับ ความระงับราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูก โกรธ ... ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง คำว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ คือ ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ได้เห็นแล้ว ความว่า ได้เห็นแล้ว ได้ประสบพบเห็น แทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้ เห็นแล้วซึ่งความสงบภายใน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ) การถึงความตกลงในธรรมทั้ง หลายแล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น ก็เราเห็น โทษในทิฏฐิทั้งหลายจึงไม่ยึดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่งความ สงบภายใน. [๓๓๐] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า) ทิฏฐิเหล่าใด ที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านเป็น มุนีไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายใน อรรถ นั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ. [๓๓๑] คำว่า ทิฏฐิเหล่าใด ที่ตกลงใจดำริแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า ดำริแล้ว คือ กำหนดแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ตั้งไว้ด้วยดีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดำริแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับ เป็นธรรมดา มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดำริแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ทิฏฐิเหล่าใด ที่ตกลงใจดำริแล้ว. บทว่า อิติ ในประชุมบทว่า อิติ มาคนฺทิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ บทว่า อิตินี้ เป็นลำดับบท. บทว่า มาคนฺทิโย เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นที่หมายรู้ เป็นเครื่องเรียก ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย. [๓๓๒] คำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น ในคำว่า ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่น ทิฏฐิเหล่านั้น กล่าว อรรถใดว่า ความสงบภายใน ดังนี้ คือ ทิฏฐิ ๖๒. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น ชื่อว่า มุนี. คำว่า ไม่ถือมั่น ความว่า ท่านรับรองว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย และกล่าวว่า ความสงบภายใน. คำว่า อรรถนั้นใด คือ อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายใน. [๓๓๓] คำว่า กถํ นุ ในคำว่า อรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ เป็นคำถามโดยสงสัย เป็นคำถามโดยแคลงใจ เป็นคำถามสองทาง เป็นคำถามโดยส่วนเป็น อเนกว่า อย่างนั้นหรือหนอ ว่ามิใช่หรือหนอ ว่าเป็นอย่างไรหรือหนอ ว่าอย่างไรเล่าหนอ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อย่างไรหนอ. คำว่า ธีรชนทั้งหลาย คือ บัณฑิต บุคคลผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ. คำว่า ประกาศไว้ คือ กล่าว ประกาศ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า อรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า (มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า) ทิฏฐิเหล่าใด ที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านเป็นมุนี ไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายใน อรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ. [๓๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์) บัณฑิตไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล ย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ บุคคล สละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึง หวังภพ. [๓๓๕] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย สุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ ความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่ แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ ... แม้ด้วยสุตะ ... แม้ด้วยทิฏฐิและสุตะ ... แม้ด้วย ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ ว่า มาคันทิยะ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ. คำว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ. [๓๓๖] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต ความว่า บัณฑิตไม่ กล่าว ไม่บอก คือ ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความ หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแม้ด้วยศีล ... แม้ด้วยพรต ... แม้ด้วย ศีลและพรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต. [๓๓๗] พึงทราบอธิบายในคำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ ดัง ต่อไปนี้ แม้ทิฏฐิพึงประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ทานที่ให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อม มีผล การเซ่นสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและกรรมที่ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลก หน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะ [ผุดเกิด] มีอยู่ สมณพราหมณ์ ที่ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศ มีอยู่ในโลก. แม้สุตะพึงประสงค์เอาเสียงแต่บุคคล คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. แม้ญาณพึงประสงค์เอากัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ อภิญญาญาณ สมาปัตติญาณ. แม้ศีลพึงประสงค์เอาปาติโมกขสังวรศีล. แม้ วัตรพึงประสงค์เอาธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถ- *ติกังคธุดงค์. คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ ความว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุ ถึงความสงบภายในด้วยธรรมสักว่าสัมมาทิฏฐิก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าการฟังก็หามิได้ ด้วยธรรม สักว่าญาณก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าศีลก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าพรตก็หามิได้ ย่อมบรรลุถึง ความสงบภายในเว้นจากธรรมเหล่านี้ก็หามิได้ ก็เพราะธรรมเหล่านี้เป็นองค์เครื่องอุดหนุนเพื่อถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งความสงบภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบ ภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความ ไม่มีพรต ก็หามิได้. [๓๓๘] คำว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น ความว่า การละโดยความ กำจัดธรรมฝ่ายดำ ด้วยธรรมเหล่านั้น จำต้องปรารถนา. ความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายส่วน กุศลอันมีในไตรธาตุ จำต้องปรารถนา. ธรรมฝ่ายดำเป็นธรรมอันบุคคลละได้แล้ว ด้วยการละ โดยความกำจัด มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา และความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายส่วนกุศลอันมีใน ไตรธาตุ ย่อมมีได้โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมฝ่ายดำเหล่านั้น บุคคลไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น. ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นกิเลสชาติอันบุคคลละได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้น แล้วไม่ถือมั่น. ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพอันบุคคลละได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิด ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น. [๓๓๙] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ ความว่า ชื่อว่าสงบ เข้าไปสงบ ดับ ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความมัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นกิเลสสงบ ถึงความสงบ เข้าไปสงบ ไหม้แล้ว ดับหายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงสงบ แล้ว. นิสัย ในคำว่า ไม่อาศัยแล้ว มี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. บุคคลละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัยเสียแล้ว ไม่อาศัย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ธรรมที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ทราบ ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว. คำว่า ไม่พึงหวังภพ คือ ไม่พึงหวัง ไม่พึงประสงค์ ไม่พึงปรารถนา ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่หวังภพ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์) บัณฑิตไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล ย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ บุคคล สละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึง หวังภพ. [๓๔๐] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า) ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคลย่อม ถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้ เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ. [๓๔๑] คำว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ ความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ ... แม้ด้วยสุตะ ... แม้ด้วยทิฏฐิและ สุตะ ... แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ. บทว่า อิติ ในที่ประชุมบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นลำดับบท. ศัพท์ว่า มาคนฺทิโย เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นที่หมายรู้ เป็นเครื่องเรียก ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย. [๓๔๒] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต ความว่า บัณฑิตไม่ กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีล ... แม้ด้วยพรต ... แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต. [๓๔๓] คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มี สุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ความว่า ท่าน กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ทิฏฐิก็พึงประสงค์เอา แม้สุตะก็พึงประสงค์เอา แม้ญาณก็พึงประสงค์เอา แม้ศีลก็พึงประสงค์เอา แม้พรตก็พึงประสงค์เอา ท่านไม่อาจเพื่ออนุญาตโดยส่วนเดียว ท่านไม่ อาจเพื่อห้ามโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความ ไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หา มิได้ไซร้. [๓๔๔] คำว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้ ความว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญ คือ ย่อมรู้ ย่อมรู้ทั่ว ย่อมแทงตลอดอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านนี้ เป็นธรรมของคนโง่เขลา คือ เป็นธรรมของคนพาล เป็นธรรมของคนหลง เป็นธรรมของคนไม่ มีความรู้ เป็นธรรมกวัดแกว่ง ไม่ตายตัว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของ ท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้. [๓๔๕] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิ คือ สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด ... ความพ้นรอบด้วยทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึง ความหมดจด ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อม เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึง กล่าวว่า (มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า) ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคลย่อมถึง ความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความ ไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้า ย่อมสำคัญธรรมของท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้ เพราะ สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ. [๓๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์) ท่านอาศัยทิฏฐิ ทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึด ถือแล้ว และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อย จากธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความหลง. [๓๔๗] คำว่า ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ ความว่า มาคันทิยพราหมณ์ อาศัยทิฏฐิ อาศัยความเกี่ยวข้องถามความเกี่ยวข้อง อาศัยความผูกพันถามความผูกพัน อาศัย ความกังวลถามความกังวล. คำว่า ถามอยู่เนืองๆ คือ ย่อมถามบ่อยๆ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์. [๓๔๘] คำว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ใดท่านถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อแล้ว ท่านเป็นผู้หลง หลงใหล ลุ่มหลง ถึง ความหลง ถึงความหลงใหล ถึงความลุ่มหลง เป็นผู้แล่นไปสู่ที่มืดด้วยทิฏฐินั่นแหละ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว. [๓๔๙] คำว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ ความว่า ท่านย่อมไม่ได้ พบสัญญาอันควร สัญญาอันถึงแล้ว สัญญาในลักษณะ สัญญาในการณะ หรือสัญญาในฐานะ จากธรรมนี้ คือ จากความสงบภายใน จากความปฏิบัติ หรือจากธรรมเทศนา ท่านจักได้ญาณแต่ ที่ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้. อีกอย่าง หนึ่ง ท่านไม่ได้พบปัญจขันธ์อันไม่เที่ยงบ้าง ญาณอันอนุโลมแก่อนิจจสัญญาบ้าง ปัญจขันธ์เป็น ทุกข์บ้าง ญาณอันอนุโลมแก่ทุกขสัญญาบ้าง ปัญจขันธ์เป็นอนัตตาบ้าง ญาณอันอนุโลมแก่ อนัตตสัญญาบ้าง ธรรมสักว่าความเกิดขึ้นแห่งสัญญาบ้าง ธรรมเป็นนิมิตแห่งสัญญาบ้าง ท่าน จักได้ญาณแต่ที่ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรม นี้. [๓๕๐] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความหลง ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ท่านจึงประสบ คือ พบ เห็น แลเห็น เพ่งเห็น พิจารณาเห็น แต่ธรรมของคนหลง คือ แต่ธรรมของคนพาล ธรรมของคนหลงใหล ธรรมของคนไม่มีความรู้ ธรรมอันกวัดแกว่งไม่ตายตัว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความหลง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์) ท่านอาศัยทิฏฐิ ทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือ แล้ว และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน จึงประสบแต่ความหลง. [๓๕๑] ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น. [๓๕๒] คำว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น ความว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็นผู้ ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็นผู้เลวกว่าเขาก็ดี ผู้นั้นพึงทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวนั้นบ้าง ด้วยทิฏฐินั้นบ้าง ด้วยบุคคลนั้นบ้าง ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เรา ปฏิบัติชอบ คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรกล่าวก่อนท่านกลับกล่าว ทีหลัง คำที่ควรกล่าวทีหลังท่านกลับกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป เรา ใส่โทษท่านแล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ ถ้าท่าน สามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่า เขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น. [๓๕๓] คำว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า ความถือตัว ๓ อย่างนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาด สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็นผู้ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็นผู้เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ หวั่นไหว. คำว่า ความสำคัญก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า ไม่มีแก่เรานั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่า เราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้น พึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น. [๓๕๔] บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริงเล่า หรือบุคคลอื่น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่าสิ่งนั้นเท็จด้วยความถือตัวอะไรเล่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลว กว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า. [๓๕๕] ชื่อว่าพราหมณ์ ในคำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริงเล่า ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ บุคคลนั้น อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริงเล่า. คำว่า พึงกล่าวสิ่งอะไร ความว่า พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลง สิ่งอะไรเล่าว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้เป็น พราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริงเล่า. [๓๕๖] คำว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่าสิ่งนั้นเท็จด้วยความถือตัว อะไรเล่า ความว่า พราหมณ์พึงทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความ วิวาท ทำความมุ่งร้าย ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิอะไรเล่า หรือด้วยบุคคลไรเล่า คำ ของเราแหละจริง คำของท่านเท็จ ท่านไม่รู้ธรรมวินัย ฯลฯ หรือปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่าน สามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่าสิ่งนั้นเท็จด้วย ความถือตัวอะไรเล่า. [๓๕๗] คำว่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่า เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด ความว่า ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอเขา ความถือตัวจัดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ความถือตัวต่ำว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ย่อมไม่มี คือ ย่อมไม่- *ปรากฏ ย่อมไม่เข้าไปได้ในพระอรหันตขีณาสพใด คือ ย่อมเป็นกิเลสอันพระอรหันตขีณาสพ ละแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด. [๓๕๘] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า ความว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น พึงโต้ตอบ คือ โต้เถียงวาทะ ทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิอะไรเล่า หรือด้วยบุคคลไรเล่าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ เพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริงเล่า หรือบุคคลผู้เป็น พราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่าสิ่งนั้นเท็จด้วยความถือตัวอะไรเล่าความ สำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลว กว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า. [๓๕๙] บุคคลละที่อาลัยแล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำ แก่งแย่งกับด้วยชน. [๓๖๐] ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อหาลินทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ข้าแต่- *พระมหากัจจานะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสพระภาษิตนี้ไว้ในมาคันทิยปัญหาอันมีมาใน อัฏฐกวรรคว่า บุคคลละที่อาลัยแล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่ง กับด้วยชน ดังนี้. ข้าแต่พระมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไร? ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า ดูกรคฤหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ ก็แหละ วิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูปธาตุเรียกว่า ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัย. ดูกรคฤหบดี เวทนาธาตุ ... สัญญาธาตุ ... สังขารธาตุ เป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ ก็แหละวิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะใน สังขารธาตุ เรียกว่าท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัย ดูกรคฤหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัยอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัยอย่างไร? ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนา อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่นและนอนเนื่องแห่งจิตใดในรูปธาตุ ความพอใจเป็นต้นนั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง ดังตาลยอดด้วย ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงเรียกว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัย. ดูกรคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนา อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่นและนอนเนื่องแห่งจิต ในเวทนาธาตุ ... ในสัญญาธาตุ ... ในสังขารธาตุ ... ในวิญญาณธาตุ ความพอใจเป็นต้นนั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงเรียกว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัย ดูกรคฤหบดี บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อาลัยอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่อย่างไร? ดูกรคฤหบดี ความผูกพันด้วย สามารถแห่งความท่องเที่ยวไปในที่อยู่คือรูปนิมิต สัททนิมิต คันธนิมิต รสนิมิต โผฏฐัพพ- *นิมิต ธรรมนิมิต เรียกว่าความท่องเที่ยวไปในที่อยู่ ดูกรคฤหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปใน ที่อยู่อย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปในที่อยู่อย่างไร? ดูกรคฤหบดี ความผูกพันด้วยสามารถแห่งความท่องเที่ยวไปในที่อยู่คือรูปนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงเรียกว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่. ดูกรคฤหบดี ความผูกพันด้วยสามารถแห่งความท่องเที่ยวไปในที่อยู่คือสัททนิมิต ... คันธนิมิต ... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... และธรรมนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มี ที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงเรียกว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูกรคฤหบดี บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่- *ที่อยู่อย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกามอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย เพลินร่วมกัน โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ ถึงความสุขก็สุขด้วย ถึงความทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยเหลือด้วยตนเอง ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกามอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกามอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่- *เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์ ไม่เพลินร่วมกัน ไม่โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ถึงความสุข ก็ไม่สุขด้วย ถึงความทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ช่วยเหลือ ด้วยตนเอง ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกามอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนาในกามทั้งหลาย ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้- *ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนา ในกามทั้งหลาย ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไปอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ก็ถึงความเพลิน ในรูปนั้น มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสัญญา อย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ก็ถึงความเพลินในวิญญาณนั้น ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไปอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไปอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ก็ไม่ถึงความเพลินในรูปนั้น ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ก็ไม่ถึงความเพลินในวิญญาณนั้น ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไปอย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชนอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุ- *บางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไข เพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน- *อย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี ก็ภิกษุไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชนอย่างไร? ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ท่านจงแก้ไข เพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ ดูกรคฤหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างนี้แล. ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสพระภาษิตใด ในมาคันทิยปัญหาอันมีมาในอัฏฐก วรรคว่า บุคคลละที่อาลัยแล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำความเยื่อใยใน กาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำ แก่งแย่งกับด้วยชน ดังนี้. ดูกรคฤหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดย พิสดารอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลละที่อาลัยแล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำความเยื่อใยใน กาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำ แก่งแย่งกับด้วยชน. [๓๖๑] บุคคลชื่อว่านาค (ท่านผู้ประเสริฐ) สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยว ไปในโลก บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว ดอกบัวมี ก้านขรุขระเกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น. [๓๖๒] คำว่า เหล่าใด ในคำว่า สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย. คำว่า สงัดแล้ว คือ สงัด ว่าง เปล่า จากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า พึงเที่ยวไป คือ พึงเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก. [๓๖๓] คำว่า นาค ในคำว่า บุคคลผู้ชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว พึง ทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ทำความชั่ว เพราะไม่ถึงความชั่ว เพราะ ไม่มาสู่ความชั่ว. บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ทำความชั่วอย่างไร? ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศล อันทำความเศร้าหมอง อันให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรียกว่าความชั่ว. (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสภิยะ) บุคคลไม่ทำความชั่ว น้อยหนึ่งในโลก สลัดกิเลสเป็นเครื่องผูก ในความประกอบทั้งปวง ไม่เกี่ยวข้องในธรรมทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว บัณฑิตกล่าวบุคคลนั้น ผู้คงที่ว่าเป็นนาค เพราะเป็นผู้เที่ยงตรง. บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ทำความชั่วอย่างนี้. บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ถึงอย่างไร? บุคคลชื่อว่าเป็นนาค ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ ไม่ถึงด้วยสามารถ แห่งโทสะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งโมหะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งมานะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งอนุสัย ย่อมไม่ไป ดำเนินไป เลื่อนลอยไป แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลายอันทำความเป็นพวก บุคคล ชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ถึงอย่างนี้. บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่มาอย่างไร? กิเลสเหล่าใด อันบุคคลนั้นละได้แล้ว ด้วย โสดาปัตติมรรค บุคคลนั้นย่อมไม่มา ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อันบุคคลนั้นละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ... ด้วยอนาคามิมรรค ... ด้วยอรหัตมรรค บุคคลนั้น ย่อมไม่มา ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก บุคคลชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่มาอย่างนี้. คำว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว ความว่า บุคคล ชื่อว่านาค ไม่ถือ คือ ไม่พึงจับถือเอา ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่ พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว. [๓๖๔] คำว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระเกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไป ติด ฉันใด ความว่า น้ำเรียกว่าเอละ น้ำเรียกว่าอัมพุ ดอกบัวเรียกว่าอัมพุชะ ก้านขรุขระ เรียกว่าก้านมีหนาม น้ำเรียกว่าวารี ดอกบัวที่เกิดแต่น้ำ มีในน้ำ เรียกว่าวาริชะ น้ำเรียกว่าชละ เปือกตมเรียกว่าปังกะ ดอกบัวที่เกิดแต่น้ำ มีในน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นของอันน้ำและเปือกตมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด ฉันใด เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระเกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด. [๓๖๕] ศัพท์ว่า เอวํ ในคำว่า มุนีผู้กล่าวสันติธรรม ผู้ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว ในกามและในโลก ฉันนั้น ดังนี้ เป็นอุปไมยยังอุปมาให้ถึงพร้อม คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่าโมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. คำว่า ผู้กล่าวความสงบ คือ มุนี ผู้กล่าวธรรมสงบ กล่าวธรรมต้านทาน กล่าวธรรมที่หลีกเร้น กล่าวธรรมเป็นที่พึ่ง กล่าวธรรมที่ไม่มีภัย กล่าวธรรมที่ไม่เคลื่อน กล่าวธรรมที่ไม่ตาย กล่าว นิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ... ฉันนั้น. คำว่า ไม่ติดพัน คือ ตัณหา เรียกว่า ความติดพัน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดพันนั้นอันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย ไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ติดพัน ไม่พัวพัน. มุนีนั้นไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง ใน รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ในธรรมที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ทราบ ที่รู้แจ้ง คือ เป็นผู้มีความติดพัน อันปราศจาก สละ คาย พ้น ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดอันปราศจาก สละ คาย พ้น ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้ไม่หิว เป็นผู้ดับ เป็นผู้เย็น เป็นผู้มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ... ฉันนั้น. โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. ชื่อว่าความติด ได้ แก่ ความติด ๒ อย่าง คือความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วย ทิฏฐิแล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ติด ไม่ติด พร้อม ไม่เข้าไปติด ในกามและในโลก ฯลฯ เป็นผู้ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ เป็นผู้ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น พระภาคผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก บุคคล ชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระเกิดแต่ อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความ สงบ ผู้ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น. [๓๖๖] มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ ที่ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำ ไปได้ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย. [๓๖๗] ศัพท์ว่า น ในคำว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัว ด้วยอารมณ์ที่ทราบ ดังนี้ เป็นปฏิเสธ. คำว่า ผู้ถึงเวท ความว่า ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า เวท. มุนีนั้นเป็นผู้ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงที่ สุดรอบ บรรลุที่สุดรอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่เคลื่อน บรรลุที่ไม่ เคลื่อน ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน แห่งชาติ ชราและมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่าผู้ถึงเวท เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดแห่งเวททั้งหลายบ้าง เพราะ อรรถว่า ถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลายบ้าง เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ เป็นธรรมอันบุคคลนั้นรู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ รู้แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (ดูกรสภิยะ) บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้น ของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็น เวทคู. คำว่า ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันมุนีนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อน ลอยไป ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ย้อน ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ. คำว่า ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ ความว่า มุนีนั้นไม่ถึง ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความถือตัว ด้วยรูปที่ทราบ ด้วยเสียงแห่งผู้อื่น หรือด้วย ความสมมติแห่งมหาชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึง ความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ. คำว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา ความว่า มุนีนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีตัณหา คือ ไม่เป็นผู้มี ตัณหาอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มีตัณหาเป็นเบื้องหน้า ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะเป็นสภาพอันมุนีละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่าใด มุนีนั้นชื่อว่า เป็น ผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีตัณหาเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหาเป็นเบื้องหน้า ด้วยเหตุนั้น เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา. [๓๖๘] คำว่า อันกรรม ... ไม่ ในคำว่า เป็นผู้อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ ความว่า มุนีนั้นย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยปุญญาภิสังขารบ้าง อปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อันกรรมไม่นำไปได้. คำว่า เป็นผู้อันเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ คือ มุนีย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่ แล่นไป ด้วยความหมดจดโดยเสียงที่ได้ยิน ด้วยเสียงกึกก้องแห่งผู้อื่น หรือด้วยความสมมติ แห่งมหาชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้. [๓๖๙] ชื่อว่า ความนำเข้าไป ในคำว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัย ทั้งหลาย ได้แก่ ความนำเข้าไป ๒ อย่าง คือ ความนำเข้าไปด้วยตัณหา ๑ ความนำเข้าไปด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ. มุนีนั้นละ ความนำเข้าไปด้วยตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความนำเข้าไปด้วย ตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไป ไม่ เข้าไปติด ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจ ออกไป สละแล้ว พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในที่ อาศัยทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย. [๓๗๐] กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจากสัญญา โมหะ ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและ ทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก. [๓๗๑] คำว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นแล้วจากสัญญา ความว่า มุนีใด เจริญอริยมรรคมีสมถะเป็นเบื้องต้น กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง เป็นสภาพ อันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น. เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว กิเลสเป็น เครื่องร้อยกรอง โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์สละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ไม่ทำให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลส เป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นจากสัญญา. [๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ความว่า มุนีใด เจริญ อริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โมหะ เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว มีรากอัน ตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา. [๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อม เที่ยวไปในโลก ความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา กล่าวคือ พวกชน ที่ยังถือสัญญา แม้เป็นพระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ย่อมวิวาทกับพวก กษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็นคฤหบดีก็ย่อมวิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร ก็ย่อมวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท กับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท กับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับสหาย. ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน ย่อมทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตรา ในเพราะ วิวาทกันนั้น. ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะการทำร้ายกัน นั้น. ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วย สามารถแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบกระทั่งการบอก ธรรมแต่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อม กระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค. อีกอย่างหนึ่ง ชนเหล่านั้นย่อมวิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความวิวาทกัน ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ. ชนเหล่านั้นยังละอภิสังขารไม่ได้แล้ว ย่อม กระทบกระทั่งในคติ คือ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในนรก ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียน กันในกำเนิดดิรัจฉาน ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในเปรตวิสัย ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนกันในมนุษยโลก ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในเทวโลก ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนคติแต่คติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนอุปบัติแต่อุปบัติ ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนปฏิสนธิแต่ปฏิสนธิ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนภพแต่ภพ ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนสงสารแต่สงสาร ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนวัฏฏะแต่วัฏฏะ กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือ ใน อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชน เหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจากสัญญา โมหะ ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก ดังนี้.
จบ มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๔๐๒๓-๔๖๑๑ หน้าที่ ๑๖๙-๑๙๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=4023&Z=4611&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=4023&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=9              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=321              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=29&A=4364              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=6967              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=29&A=4364              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=6967              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]