ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             ธรรมสามัคคีเป็นไฉน? สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านั้นย่อมแล่นไป ผ่องใส ประดิษฐานด้วยดี
พ้นวิเศษโดยความเป็นอันเดียวกัน ความขัดแย้งกันแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี นี้ชื่อว่า ธรรม
สามัคคี.
	อนภินิพพัตติสามัคคีเป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นของบกพร่องหรือเต็มล้นไปแห่งนิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่
ปรากฏ นี้ชื่อว่า อนภินิพพัตติสามัคคี.
	คำว่า ในภพ คือ นรก เป็นภพของพวกสัตว์ที่เกิดในนรก กำเนิดดิรัจฉาน เป็นภพ
ของพวกสัตว์ที่เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย เป็นภพของพวกสัตว์ที่เกิดในเปรตวิสัย มนุษย-
*โลกเป็นภพของพวกมนุษย์ เทวโลกเป็นภพของพวกเทวดา. คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่
แสดงตนในภพนั้นว่า เป็นความพร้อมเพรียง คือ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าว บอก พูด แสดง แถลง
อย่างนี้ว่า ภิกษุใดปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ไม่พึงแสดงตนในนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย-
*โลก เทวโลก การไม่แสดงตนของภิกษุนั้น เป็นความพร้อมเพรียง คือ ข้อนั้นเป็นการปกปิด
เป็นการควร สมควร เป็นอนุโลม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดง
ตนในภพนั้นว่า เป็นความพร้อมเพรียง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
		บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้น ของภิกษุผู้ประพฤติ
		หลีกเร้น ผู้คบที่นั่งอันสงัดว่า เป็นความพร้อมเพรียง.
	[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
		มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำ
		สัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง ความรำพันและความหวงแหนมิได้ติดในมุนีนั้น
		เหมือนน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น.
	[๒๑๓] คำว่า มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง มีความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ
รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง. คำว่า
มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
และตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.
	คำว่า ไม่อาศัย มีความว่า ความอาศัย ๒ อย่าง คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑
ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยทิฏฐิ.
มุนีละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่อาศัย คือ ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน
ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ออกไป สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วซึ่งจักษุ
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สกุล คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ
รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐธรรม สุตธรรม
มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง.
ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ อย่าง
[๒๑๔] คำว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง มีความว่า ที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑. สัตว์ทั้งหลายเป็นที่รักเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความเจริญ ใคร่ ประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ความผาสุก ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสบ้าง คือ เป็นมารดาบิดาบ้าง เป็นพี่ชายน้องชายบ้าง เป็นพี่สาวน้องสาวบ้าง เป็นบุตรบ้าง เป็นธิดาบ้าง เป็นมิตรบ้าง เป็น พวกพ้องบ้าง เป็นสาโลหิต (ญาติสืบสาย) บ้าง แห่งบุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่รัก. สังขารทั้งหลายเป็นที่รักเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่รัก. คำว่า เป็นที่ชัง ได้แก่ สิ่งเป็นที่ชัง ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑. สัตว์ทั้งหลายเป็นที่ชังเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความเสื่อม ใคร่ สิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ความไม่ผาสุก ใคร่ความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส ใคร่เพื่อ จะปลงจากชีวิตของบุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่ชัง. สังขารทั้งหลายเป็นที่ชังเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่ชัง. คำว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง คือ มุนีไม่ทำ สัตตสังขารว่าเป็นที่รักด้วยสามารถแห่งความกำหนัดว่า สัตว์นี้เป็นที่รักของเรา และสังขาร ทั้งหลายนี้เป็นที่ชอบใจของเรา และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชังด้วยสามารถแห่งความขัดเคืองว่า สัตว์นี้เป็นที่ชังของเรา และสังขารทั้งหลายนี้เป็นที่ไม่ชอบใจของเรา คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง. [๒๑๕] คำว่า ความรำพันและความหวงแหน มิได้ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดใน ใบบัว ฉะนั้น มีความว่า ในมุนีนั้น คือ ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ความรำพัน คือ ความเพ้อถึง ความรำพัน อาการที่เพ้อถึง อาการรำพันถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้ รำพันถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่ำเพ้อ ของชนผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อม แห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง. คำว่า ความหวงแหน ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่ ที่อยู่ ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ความเหนียวแน่น ความ เป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. คำว่า ไม่ติด เหมือนน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น คือ ใบปทุมเรียกว่าใบบัว. น้ำเรียกว่าวารี. ความรำพันและ ความตระหนี่ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ ย่อมเป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไป ติดในมุนีนั้น คือ ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ เหมือนน้ำย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้า ไปติด คือ เป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติดในใบปทุม ฉะนั้น และบุคคลนั้น ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ออกไป สละเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ด้วยกิเลสเหล่านั้น เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพันและความหวงแหน ย่อมไม่ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำย่อมไม่ติด ในใบบัว ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนี ไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รักและไม่ทำ สัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง ความรำพันและความหวงแหนมิได้ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น. [๒๑๖] หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด มุนีย่อม ไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น. [๒๑๗] คำว่า หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว มีความว่า หยดน้ำ เรียกว่า หยาดน้ำ. ใบปทุม เรียกว่า ใบบัว. หยาดน้ำย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติดอยู่ในใบบัว ฉันใด เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หยาดน้ำย่อมไม่ติด ในใบบัว. [๒๑๘] คำว่า วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด มีความว่า ดอกปทุมเรียกว่าดอกบัว. น้ำเรียกว่าวารี. วารีย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติดอยู่ในดอกบัว ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด. [๒๑๙] คำว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น มีความว่า คำว่า ฉันนั้น เป็นอุปไมยยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ. คำว่า มุนี มีความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา เพียงดังข่าย ดำรงอยู่ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วย ทิฏฐิเสียแล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้า ไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไป สละเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้ มีพระภาคจึงตรัสว่า หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด มุนีย่อม ไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น. [๒๒๐] พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ พระอรหันต์นั้นย่อมไม่ปรารถนาความหมด จดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย. [๒๒๑] คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ มีความว่า คำว่า โธนะ มีความว่า ปัญญาเรียกว่าโธนา ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุอะไร ปัญญา จึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงชื่อว่าโธนา. อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวาจา สัมมา กัมมันตะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระซักฟอกซึ่งมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวายามะ สัมมาสติ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสติ สัมมาสมาธิ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสมาธิ สัมมาญาณ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาญาณ. สัมมาวิมุติ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวิมุติ. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึง พร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อมแล้ว ประกอบแล้วด้วยธรรมทั้งหลายอัน เป็นเครื่องกำจัดนี้ เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด พระอรหันต์นั้น กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด. คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ คือ พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูปที่เห็น ย่อมไม่ สำคัญในรูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญแต่รูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญว่า รูปเราเห็นแล้ว ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญในเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญแต่เสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญว่า เสียงเราได้ยินแล้ว ย่อมไม่สำคัญซึ่งอารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่ สำคัญแต่อารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เราทราบแล้ว ย่อมไม่สำคัญซึ่งอารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญแต่อารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เรารู้ แจ้งแล้ว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนได้สำคัญว่า เรามีอยู่ ว่าเราย่อมไม่มี ว่าเราจักมี ว่าเราจักไม่มี ว่าเราจักเป็นสัตว์มีรูป ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ว่าเรา จักเป็นสัตว์มีสัญญา ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่ และปุถุชนได้สำคัญว่า เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นอุบาทว์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มีจิตไม่สำคัญอยู่ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ. [๒๒๒] คำว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น คือ พระอรหันต์ ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องจำกัด ย่อมไม่ปรารถนา ไม่ยินดี ไม่ประสงค์ ไม่รัก ไม่ชอบใจ ซึ่งความ หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยมรรค อื่น คือ ด้วยมรรคอันไม่หมดจด ด้วยปฏิปทาอันผิด ด้วยทางอันไม่นำออกจากทุกข์ เว้นจาก สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น. [๒๒๓] คำว่า พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย มีความว่า พาลปุถุชนทั้งปวงย่อมกำหนัด พระอริยบุคคลผู้เสขะ ๗ จำพวก ตลอดถึงกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด ส่วนพระอรหันต์ย่อมกำหนัดหามิได้ ย่อมคลายกำหนัดก็หามิได้. เพราะ พระอรหันต์นั้นคลายกำหนัดแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะโดยราคะสิ้นไปแล้ว เพราะเป็นผู้ ปราศจากโทสะโดยโทสะสิ้นไปแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะโดยโมหะสิ้นไปแล้ว และพระ- *อรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่กำหนัด ไม่คลายกำหนัดเลย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่ปรารถนาความ หมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย ดังนี้.
จบ ชราสุตตนิทเทสที่ ๖.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๒๙๒๖-๓๐๘๓ หน้าที่ ๑๒๓-๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=2926&Z=3083&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=2926&w=ธรรมสามัคคี&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=6              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=181              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=29&A=2787#211top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=5666              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=29&A=2787#211top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=5666              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]