ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
อุรควรรคที่ ๑
อุรคสูตรที่ ๑
[๒๙๔] ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือน หมอกำจัดพิษงูที่ซ่านไปแล้วด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อ ว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดตัดราคะได้ขาด พร้อมทั้ง อนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลลงไปตัดดอกปทุมซึ่ง งอกขึ้นในสระฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดยังตัณหาให้เหือดแห้งไปทีละน้อยๆ แล้วตัดเสีย ให้ขาดโดยไม่เหลือ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดถอนมานะพร้อมทั้งอนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนห้วง น้ำใหญ่ถอนสะพานไม้อ้อที่ทุรพลฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่ คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดค้นคว้าอยู่ (ด้วยปัญญา) ไม่ ประสบอัตภาพอันเป็นสาระในภพทั้งหลาย เหมือนพราหมณ์ ค้นคว้าอยู่ ไม่ประสบดอกที่ต้นมะเดื่อฉะนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น กิเลสเป็นเครื่องให้กำเริบ ย่อมไม่มีภายในจิตของภิกษุใด และภิกษุใดล่วงเสียได้แล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้วฉะนั้น ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปรามดีแล้ว ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ ล่วงกิเลสเป็นเครื่อง ให้เนิ่นช้านี้ได้หมดแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่าธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจากความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุ ใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุ นั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติ มีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโทสะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้ เป็นของแปรผัน ปราศจากโมหะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้า อยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใด ไม่มีอนุสัยอะไรๆ ถอนอกุศลมูลได้แล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่ คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ความ กระวนกระวายอะไรๆ อันเป็นปัจจัยเพื่อมาสู่ฝั่งใน ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ตัณหา ดุจป่าอะไรๆ อันเป็นเหตุเพื่อความผูกพัน เพื่อความเกิด ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ไม่มีทุกข์ ข้ามความสงสัยได้แล้ว มีลูกศรปราศไปแล้ว ภิกษุ นั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ฯ
จบอุรคสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๘๓๕-๖๘๙๔ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6835&Z=6894&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=6835&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=228              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=294              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=6720              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=6720              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.01.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.01.nypo.html https://suttacentral.net/snp1.1/en/mills https://suttacentral.net/snp1.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]