ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. สมยสูตร
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็น สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร บำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ไม่ ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากัน ขึ้นยานพาหนะอพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔ อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์ แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกันและกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส และคน บางพวกที่เลื่อมใสย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วย ความเป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วย ไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควร แก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวถูก ข้าวดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวกที่ จะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ข้อที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน [สามัคคีกัน] ยินดี ต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยจักษุที่ ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์สมัครสมานกัน ย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน ไม่ มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และคน ที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๕๒๒-๑๕๕๖ หน้าที่ ๖๖-๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1522&Z=1556&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=1522&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=54              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=54              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=1560              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=664              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=1560              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=664              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i051-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.54/en/sujato https://suttacentral.net/an5.54/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]