ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. กโรโตสูตร
ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ
[๔๒๗] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี อยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่น ให้ทำ ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่น เศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่นดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่า สัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียว บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวา แห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่ เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคล จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ ให้ทาน บูชาเอง ใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มี บุญมาถึงเขา? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูปอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นทำให้ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา. [๔๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่ เที่ยง? ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึง เกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การ ฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บ้างไหม? ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า. พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บ้างไหม? ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า. พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บ้างไหม? ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวก ละความสงสัย ในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคา- *มินีปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๖.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๕๐๔๓-๕๐๙๕ หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=5043&Z=5095&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=5043&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=209              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=427              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=5184              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8168              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=5184              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8168              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i417-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn24.6/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]