ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔
๑. ภูตมิทสูตร
[๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ใน อชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ๑- และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดย พิสดารได้อย่างไร ฯ [๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง ฯลฯ แม้ในครั้งที่สอง ท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะท่าน พระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ใน ปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดาร ได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ แม้ ในครั้งที่สาม ฯ @๑. อรรถกถาหมายถึงพระขีณาสพ [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือ ขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดย ชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อม ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิด แล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความ กำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดย ชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ อาหารนั้นดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย ความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธ- *เจ้าข้า บุคคลย่อมเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ฯ [๑๐๑] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน บุคคลเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็น เช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะ ไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม ความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้น ดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความ กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ใน อชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย พิสดารอย่างนี้แล ฯ [๑๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละๆ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้น แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธ- *ปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย ความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญา โดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ ความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ คลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูกร สารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ [๑๐๓] ดูกรสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็นไฉน ดูกร สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่ เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความ กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็น เช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธ- *ปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูกรสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหาในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ ยังเป็นเสขะบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดาร ได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๑๗๙-๑๒๖๒ หน้าที่ ๔๙-๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1179&Z=1262&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=1179&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=27              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=98              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=16&A=1143              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1525              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=16&A=1143              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1525              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i098-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.031.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.031x.nypo.html https://suttacentral.net/sn12.31/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.31/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]