ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ฆฏิกรสูตรที่ ๑๐
[๑๕๒] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า ภิกษุ ๗ รูปผู้เข้าถึงพรหมโลกชื่อว่าอวิหา เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีราคะ โทสะสิ้นแล้ว ข้ามเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกได้แล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นคือผู้ใดบ้าง ผู้ข้ามเครื่องข้องเป็นบ่วงของมารที่ ข้ามได้แสนยาก ละกายของมนุษย์แล้วก้าวล่วงซึ่งทิพย- *โยคะ ฯ ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า คือท่านอุปกะ ๑ ท่านผลคัณฑะ ๑ ท่านปุกกุสาติ ๑ รวม เป็น ๓ ท่าน ท่านภัททิยะ ๑ ท่านขัณฑเทวะ ๑ ท่านพหุ- *ทันตี ๑ ท่านสิงคิยะ ๑ (รวมเป็น ๗ ท่าน) ท่านเหล่านั้น ล้วนแต่ละกายของมนุษย์ ก้าวล่วงทิพยโยคะได้แล้ว ฯ [๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่านเป็นคนมีความฉลาด กล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น ผู้ ละบ่วงมารได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นตรัสรู้ธรรมของใครเล่า จึง ตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้ ฯ [๑๕๔] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า ท่านเหล่านั้น ตรัสรู้ธรรมของผู้ใดจึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้ ผู้นั้นไม่มีอื่นไปจากพระผู้มีพระภาค และธรรมนั้นไม่มีอื่นไป จากคำสั่งสอนของพระองค์ ฯ นามและรูปดับไม่เหลือในธรรมใด ท่านเหล่านั้นได้รู้ธรรมนั้น ในพระศาสนานี้ จึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้ ฯ [๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่านกล่าววาจาลึกรู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก ท่านรู้ธรรม ของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้ ฯ [๑๕๖] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ ทำหม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบท เป็นผู้เลี้ยงมารดาและบิดา ได้เป็นอุบาสกของพระกัสสป พุทธเจ้า เป็นผู้เว้นจากเมถุนธรรม เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เกี่ยวด้วยอามิส ได้เคยเป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์ ทั้งได้ เคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลปางก่อน ข้าพระองค์รู้จัก ภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้ ผู้หลุดพ้นแล้ว มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว ผู้ข้ามเครื่องข้องในโลกได้แล้ว ฯ [๑๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะนายช่างหม้อ ท่านกล่าวเรื่องอย่างใด เรื่องนั้นได้เป็น จริงแล้วอย่างนั้นในกาลนั้น เมื่อก่อนท่านเคยเป็นช่างหม้อ ทำหม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบท เป็นผู้เลี้ยงมารดาและบิดา เป็น อุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เป็นผู้เว้นจากเมถุนธรรม เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เกี่ยวด้วยอามิส ได้เป็นคน เคยร่วมบ้านกันกับเรา ทั้งได้เคยเป็นสหายของเราในปาง ก่อน ฯ พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรมแล้ว ทรงไว้ซึ่งสรีระมีใน ที่สุด ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
จบ อาทิตตวรรค ที่ ๕
-----------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวในอาทิตตวรรคนั้น คือ
อาทิตตสูตร กินททสูตร อันนสูตร เอกมูลสูตร อโนมิยสูตร อัจฉรา สูตร วนโรปสูตร เชตวนสูตร มัจฉริสูตร ฆฏิกรสูตร ฉะนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๐๒๔-๑๐๗๔ หน้าที่ ๔๖-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1024&Z=1074&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=15&A=1024&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=50              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=152              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=899              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2328              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=15&A=899              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2328              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i135-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn1.50/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.50/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]