ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
             ในเมืองกบิลพัสดุ์ นี้เอง ได้มีศากยธิดานามว่า โคปิกา เป็นคนเลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ นางคลายจิตในความ
เป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ
ข้าพระองค์ พวกเทวดาในดาวดึงส์นั้น รู้จักเธออย่างนี้ว่า โคปกเทวบุตรๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุอื่นสามรูป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึง
หมู่คนธรรพ์อันต่ำ คนธรรพ์พวกนั้นเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ มา
สู่ที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ โคปกเทวบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์พวกนั้นผู้มาสู่ที่
บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เอาหน้าไปไว้ที่ไหน พวกท่าน
รวบรวมพระธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ เราเป็นแต่สตรี เลื่อมใสใน
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ คลายจิตในความเป็น
สตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของท้าวสักกะ
จอมเทพ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตรๆ ส่วนพวกท่าน
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ พวกเราได้เห็น
สหธรรมิกที่เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูแล้ว ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อคนธรรพ์พวกนั้นถูกโคปกเทวบุตรตักเตือนแล้ว เทวดาสององค์กลับ
ได้สติในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนเทวดาองค์หนึ่ง
คงตกอยู่ในกามภพ ฯ
	[๒๕๓] 	เราเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ นามของเราได้ปรากฏ
		ว่า โคปิกา เราเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธเจ้า พระธรรม
		และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์ เพราะความที่พระธรรมของ
		พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแหละ เป็นธรรมดี เราได้เป็นบุตร
		ท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึง
		ชั้นไตรทิพย์ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตร
		เราได้มาเห็นพวกภิกษุที่เป็นสาวกของพระโคดม ซึ่งเคยเห็นมา
		แล้ว ครั้งที่เรายังเป็นมนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ สงเคราะห์
		ด้วยการล้างเท้าและทาเท้าให้ในเรือนของตน มาเข้าถึงหมู่คน
		ธรรพ์ อยู่ในหมู่คนธรรพ์ ท่านพวกนี้เอาหน้าไปไว้ไหน จึง
		ไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตัว
		อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงดีแล้ว แม้
		เราก็เข้าไปหาพวกท่าน ได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะทั้งหลาย
		เราได้เป็นบุตรท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่-
		*หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์ ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้
		พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้
		ยอดเยี่ยม ยังมาเข้าถึงกายอันต่ำ การอุปบัติของพวกท่านไม่
		สมควร เราได้มาเห็นสหธรรมิกเข้าถึงกายอันต่ำ นับว่าได้เห็น
		รูปที่ไม่น่าดูแล้ว พวกท่านผู้เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ ต้องมาสู่ที่
		บำเรอของพวกเทวดา ขอให้ท่านดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่
		ในเรือนเถิด เราเป็นสตรี วันนี้เป็นเทวบุตร ผู้พร้อมพรั่งไป
		ด้วยกามอันเป็นทิพย์ คนธรรพ์พวกนั้นมาพบโคปกเทวบุตร
		อันโคปกเทวบุตร ผู้สาวกพระโคดมตักเตือนแล้ว ถึงความ
		สลดใจ คิดว่า เอาเถิด พวกเราจะพากเพียรพยายาม พวก
		เราจะไม่เป็นคนใช้ของผู้อื่น บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คน
		ธรรพ์ ๒ คน ระลึกถึงคำสอนพระโคดมแล้ว ปรารภความ
		เพียร คลายจิตในภพนี้ ได้เห็นโทษในกามแล้ว ตัดกาม
		สังโยชน์ และเครื่องผูก คือกามอันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งยาก
		ที่จะล่วงไปได้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะ
		ตัดเสียได้ ซึ่งกามคุณอันมีอยู่ ประดุจช้างตัดบ่วงบาสได้
		ฉะนั้น เทวดาทั้งหมด พร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งท้าว
		ปชาบดี เข้าไปนั่งประชุมกันในสภา ชื่อ สุธรรมา ล้วนเป็น
		ผู้แกล้วกล้า ปราศจากราคะ บำเพ็ญวิรชธรรมอยู่ ก็หาก้าว
		ล่วงเทวดาพวกนั้นไม่ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่ยิ่งของเทวดา ทรง
		เห็นเทวดาเหล่านั้นในท่ามกลางหมู่เทวดาแล้ว ได้ทรงสลด
		พระทัยว่า ก็เทวดาเหล่านี้เข้าถึงกายอันต่ำ บัดนี้ กลับก้าวล่วง
		พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อท้าวสักกะเกิดสลดพระทัย เพราะ
		ทรงพิจารณาเทวดาเหล่านั้น โคปกเทวบุตรได้ทูลท้าววาสพว่า
		พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน มีอยู่ในมนุษยโลก ทรงครอบงำกาม
		เสียได้ ปรากฏพระนามว่า พระศากยมุนี เทวดาพวกนั้นเป็น
		บุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เว้นจากสติแล้ว อัน
		ข้าพระองค์ตักเตือน กลับได้สติ บรรดาท่านทั้ง ๓ นั้น ท่าน
		ผู้หนึ่ง คงเข้าถึงกายคนธรรพ์อยู่ในภพนี้ อีก ๒ ท่านดำเนิน
		ตามทางตรัสรู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเย้ยพวกเทวดาก็ได้
		การประกาศธรรมในพระวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ บรรดาพระสาวก
		มิได้มีสาวกรูปไรสงสัยอะไรเลย เราทั้งหลายขอนอบน้อม
		พระชินพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงตัด
		ความสงสัยได้แล้ว บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คนธรรพ์ ๒ คน
		นั้น รู้ธรรมอันใดของพระองค์แล้ว ถึงความเป็นผู้วิเศษ เข้า
		ถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต บรรลุคุณวิเศษแล้ว ข้าแต่
		พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานพระวโรกาส ถึงพวกข้าพระองค์
		ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น หากพระองค์ทรงกระทำโอกาสแล้ว จะ
		ขอทูลถามปัญหา ฯ
	[๒๕๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้-
*บริสุทธิ์สิ้นเวลานาน จักตรัสถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งกะเรา ท้าวเธอจักถามปัญหา
นั้นทุกข้อ ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่ถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
อนึ่ง เราอันท้าวเธอตรัสถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความใด ท้าวเธอจักทรงทราบ
ข้อความนั้นได้พลันทีเดียว ฯ
	ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพด้วยพระคาถาว่า
		ดูกรท้าววาสพ พระองค์ปรารถนาไว้ในพระทัย เพื่อจะตรัสถาม
		ปัญหาข้อไร ก็จงตรัสถามปัญหาข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพ
		จะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่พระองค์ ฯ
จบ ภาณวารที่หนึ่ง
[๒๕๕] ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้ ทูลถามปัญหาข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความ พยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการ ฉะนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยาและ ความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็น ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ- *ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ [๒๕๖] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไป ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ มี อะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยา และความตระหนี่จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ ภ. ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่มีอารมณ์เป็นที่รักและ อารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่อ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ จึงมี เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความ ตระหนี่จึงไม่มี ฯ ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็น ที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ ดูกรจอมเทพ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีความพอ ใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี อารมณ์ อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี อารมณ์อันเป็น ที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี เมื่ออะไร ไม่มี ความพอใจจึงไม่มี ฯ ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจ จึงไม่มี ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความตรึกจึงไม่มี ฯ ดูกรจอมเทพ ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบ ด้วยปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ไม่มี ความตรึกจึงไม่มี ฯ [๒๕๗] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญา อันประกอบด้วย ปปัญจธรรม ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควร เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดูกร จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม โสมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใด ว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสเห็น ปานนั้น ควรเสพ ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโสมนัสอันใดมีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม โทมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสเห็นปานนั้น ควรเสพ ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโทมนัสอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า ดูกร- *จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขา ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรม เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบอุเบกขา อันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขา เห็นปานนี้ ควรเสพ ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจาร ประ- *ณีตกว่า ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึง ความดับแห่งส่วนสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ฯ พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ ด้วยประการฉะนี้ ฯ ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ- *ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ [๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ- *ภาคในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น ไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ ความสำรวมในปาติโมกข์ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี วจีสมาจารก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี และการแสวงหาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน กายสมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมา- *จารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ กล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจี- *สมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม วจีสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคล พึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรม เจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมา- *จารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง วจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน การแสวงหาทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวง หานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ กล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ ฯ [๒๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ แล้วเพื่อความสำรวมอินทรีย์ ฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยก เป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวธรรม ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาเห็นปานนี้ ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ... เมื่อ บุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพธรรมที่ จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมที่ จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานนี้ ควรเสพ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบ เนื้อความแห่งภาษิตที่ตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการ พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ [๒๖๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียว กัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็น อย่างเดียวกัน หรือหนอ ฯ ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีล เป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน หามิได้ ฯ ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็น อย่างเดียวกัน ฯ โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุ ต่างกันนั้น สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและ ความยึดถือ กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะ เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ... ฯ [๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จ ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หรือหนอ ฯ ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ เกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้ ฯ ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ ภิกษุเหล่าใดน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้น มีความ สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุด ล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มี ความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ [๒๖๒] ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ พระผู้มี พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ไป เพื่อบังเกิดในภพนั้นๆ เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ย่อมถึงอาการขึ้นๆ ลงๆ ปัญหา เหล่าใด ที่ข้าพระองค์ไม่ได้แม้ซึ่งการกระทำโอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นนอก พระธรรมวินัยนี้ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นกาลไกล โปรด พยากรณ์แก่ข้าพระองค์แล้ว และลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงถอนขึ้นแล้ว ฯ ดูกรจอมเทพ พระองค์ยังทรงจำได้หรือว่า เคยตรัสถามปัญหาเหล่านี้กะ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ว่า เคยถามปัญหาเหล่านี้กะ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้าพระองค์ไม่หนักพระทัย ขอให้ตรัสบอกเถิด ฯ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจ ในสถานที่พระองค์ และท่านที่เป็นอย่าง พระองค์ประทับนั่งอยู่แล้ว ฯ ถ้าเช่นนั้น จงตรัสบอกเถิด ฯ ข้าพระองค์เข้าใจสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นสมณพราหมณ์ผู้อยู่ป่า มีเสนาสนะอันสงัดแล้ว ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหา เหล่านี้ ท่านเหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว ย่อมไม่สบายใจ เมื่อไม่สบาย ใจ กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร ข้าพระองค์ถูกท่านเหล่านั้นถามแล้ว จึงตอบว่า ข้าพเจ้าคือท้าวสักกะจอมเทพ ท่านเหล่านั้นยังสอบถามข้าพระองค์ ต่อไปว่า ท่านกระทำกรรมอะไรจึงลุถึงฐานะอันนี้ ข้าพระองค์จึงได้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา แก่ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นดีใจด้วยเหตุเพียง เท่านี้ว่า พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตอบปัญหาที่พวกเรา ได้ถามแล้วเป็นของแน่นอน ท่านเหล่านั้นกลับเป็นผู้รับฟังข้าพระองค์ แต่ ข้าพระองค์หาได้เป็นผู้รับฟังท่านเหล่านั้นไม่ ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ชั้นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ใน เบื้องหน้า ฯ พระองค์ยังทรงจำได้หรือ ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ ข้าพระองค์ยังจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น ปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ พระองค์ยังทรงจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น ปานนี้ ก่อนแต่นี้ อย่างไรเล่า ฯ [๒๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดา และอสูรได้ประชิดกันแล้ว ก็ในสงครามคราวนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามนั้นแล้ว ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเทวดาใน เทวโลกนี้จักบริโภคโอชาทั้งสอง คือ ทิพย์โอชา และอสุรโอชา การได้รับความ ยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์นั้น ประกอบไปด้วยทางมาแห่งอาชญา ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟัง ธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ฯ ดูกรจอมเทพ ก็พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไรเล่า จึงทรง ประกาศ การได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้รับ ความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๔] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หนึ่งอย่างนี้ว่า เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นี้ เรากลับ ได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงทรงทราบ อย่างนี้เถิด ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๕] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สองอย่างนี้ว่า เราจุติจากทิพยกายแล้ว ละอายุอันมิใช่ของมนุษย์แล้ว เป็นผู้ไม่หลง จักเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลอันเป็นที่พอใจของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๖] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สามอย่างนี้ว่า เรานั้น ยินดีแล้ว ในศาสนา ของท่าน ที่มิได้หลง ปัญหา เรามีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง จักอยู่โดยธรรม ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๗] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สี่อย่างนี้ว่า ถ้าความตรัสรู้จักมีแก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้ เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละ จักเป็นที่สุดของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๘] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ห้าอย่างนี้ว่า หากเราจุติจากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๖๙] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หกอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นอกนิฏฐาเหล่านั้นเป็นผู้ประณีตกว่า มียศ เมื่อภพที่สุดเป็นไปอยู่ นิวาสนั้นจักเป็นของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ หกประการนี้แล จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ [๒๗๐] ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด ยังมีความสงสัย เคลือบแคลง เที่ยวเสาะแสวงหาพระตถาคตอยู่ตลอดกาลนาน ข้าพระองค์สำคัญสมณะเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้มีปรกติอยู่เงียบสงัด เข้าใจว่าเป็นพระสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปหาสมณะเหล่านั้น ท่าน เหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามว่า ความพอใจเป็นอย่างไร ความ ไม่พอใจเป็นอย่างไร ก็หาชี้แจงในมรรคและข้อปฏิบัติไม่ ในเวลาที่ท่านเหล่านั้นรู้ข้าพระองค์ว่า เป็นสักกะมาจากเทวโลก จึงถามข้าพระองค์ทีเดียวว่า ท่านทำอะไรจึงได้ลุถึงฐานะนี้ ข้าพระองค์จึงแสดงธรรมตามที่ฟังมา แก่ท่านเหล่านั้น ให้ปรากฏ ในหมู่ชน ท่านเหล่านั้นมีความพอใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า พวกเราได้เห็นท้าววาสวะแล้ว ในเวลาใด ข้าพระองค์ได้เห็น พระสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ในเวลานั้น ข้าพระองค์เป็นผู้ปราศจากความกลัว วันนี้ ได้เข้ามานั่งใกล้ พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง กำจัดเสียได้ซึ่งลูกศรคือตัณหา ซึ่งหาบุคคลเปรียบมิได้เป็น มหา- *วีระ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์กับพวกเทวดากระทำความนอบ- *น้อมอันใดแก่พรหม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถวาย ความนอบน้อมนั้นแด่พระองค์ ข้าพระองค์ขอทำความนอบน้อม แด่พระองค์ด้วยตนเอง พระองค์ผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้พระนิพพาน พระองค์เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยมในโลกกับทั้งเทวโลก จะหา บุคคลเปรียบพระองค์มิได้ ฯ [๒๗๑] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพ- *บุตรมาแล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ด้วยเหตุที่พ่อ ให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว ภายหลังพวกเราจึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น เราจักตั้งพ่อไว้ในตำแหน่งแทนบิดา พ่อจักเป็นราชาแห่งคนธรรพ์ และเราจะให้ นางภัททาสุริยวัจฉสาแก่พ่อ เพราะว่า นางนั้น พ่อปรารถนายิ่งนัก ฯ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระ- *องค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ- *เจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น [๒๗๒] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิด ขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น ปัญหาที่เชื้อเชิญให้ถามที่ท้าวสักกะจอมเทพทูล ถามนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว ด้วยประการดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า สักกปัญหา จึงเป็นชื่อของไวยากรณ์ภาษิตนี้ ฉะนี้แล ฯ
จบสักกปัญหสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๕๘๗๙-๖๒๕๖ หน้าที่ ๒๔๑-๒๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5879&Z=6256&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=5879&w=๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝยจิตในค๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=8              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=10&A=6288#252top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=7978              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=10&A=6288#252top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=7978              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/10i247-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.21.2x.than.html https://suttacentral.net/dn21/en/sujato https://suttacentral.net/dn21/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]