ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เรื่องนำแก้วมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง
[๑๕๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามากเดินทางไกลไปกับภิกษุ รูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้นเห็นด่านภาษี จึงหย่อนแก้วมณีลงในถุงย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ตัว เดินพ้นด่าน ภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง ภิกษุนั้นได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทางไกลไปกับภิกษุรูป หนึ่ง ครั้นภิกษุนั้นเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้ แล้วได้ให้ห่อของของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้น เดินทางพ้นด่านภาษีไปแล้ว บุรุษนั้นจึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนำห่อของ ของผมมา ผมหาได้เป็นไข้ไม่ ภิกษุนั้นถามว่า ท่าน ท่านได้ทำทีท่าเช่นนั้นเพื่อประสงค์อะไร บุรุษ นั้นได้แจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? @๑. ๔ ปัตถะเป็น ๑ อาฬหก ๒. ร้อยปละเป็น ๑ ดุล ๓. สี่อาฬหกเป็น ๑ โทณะ ฯ ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัติ ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับพวกเกวียน บุรุษคนหนึ่งเกลี้ยกล่อม ภิกษุนั้นด้วยอามิสแล้ว เห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณีซึ่งมีราคามากให้แก่ภิกษุนั้น ด้วยขอร้องว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงช่วยนำแก้วมณีนี้ผ่านด่านภาษีด้วย จึงภิกษุนั้นนำแก้วมณีนั้นให้ผ่านด่านภาษี ไปแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้ มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง
[๑๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วงไปแล้ว มีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้- *มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยปลาที่ติดลอบไป แล้วมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยปลาที่ติดลอบไปเสียก่อน ด้วย คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน
[๑๕๔] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า เราถือเอาไปจาก ยานนี้จักเป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง
[๑๕๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวไปเสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไปตามกระแสในแม่น้ำ อจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนขึ้น พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไปตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมีไถยจิต ช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้น มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องผ้าบังสุกุล
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าสาฎก ไว้ที่ต้นไม้แล้วไปถ่าย- *อุจจาระ ภิกษุรูปหนึ่งมีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอาไป คนเลี้ยงโคนั้นโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
[๑๕๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่หลุดจากมือของพวก ช่างย้อม ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุๆ นั้นเก็บไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่หลุดจากมือของพวกช่างย้อม ได้ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุๆ นั้นมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
เรื่องฉันทีละน้อย
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไปทีละน้อยๆ แล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องชวนกันลักทรัพย์ ๒ เรื่อง
[๑๖๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจว่าจักลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก รูปใดลัก รูปนั้น เป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชวนกันลักทรัพย์มาได้แล้วแบ่งกัน เมื่อแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุรูปหนึ่งๆ ได้ส่วนแบ่งไม่ครบ ๕ มาสก จึงกล่าวกันขึ้นอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกำมือ ๔ เรื่อง
[๑๖๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักข้าว สารของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักถั่วเขียว- *ชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักถั่วฝัก- *ยาวของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักงาของ ชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง
[๑๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถีฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวกโจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถี ฆ่าหมูกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวก- *โจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง- *อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
[๑๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถยจิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. [๑๖๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถยจิตลักเกี่ยวหญ้า ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกัน ให้แจกมะม่วงของ สงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระ อาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจกชมพู่ของสงฆ์- *แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอา- *คันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจกขนุนสำมะลอ ของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวก พระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจกขนุนของสงฆ์ แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความ รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจกผลตาลสุกของ- *สงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระ อาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกัน ให้แจกอ้อยของสงฆ์ แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระ อาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจกมะพลับของ- *สงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระ อาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ พวกเธอคิดอย่างไร? ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุทั้งหลายๆ มีความ- *รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้ มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุนสำมะลอแก่ภิกษุ- *ทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจ อยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้ มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รัง- *เกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้ มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่ของตน ภิกษุ ทั้งหลายโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม.
เรื่องลักน้ำของสงฆ์
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องลักดินของสงฆ์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล- *เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วมีความรัง- *เกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วมีความรัง เกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดเผา พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักเตียงของสงฆ์ แล้วมีความ รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิด อย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักตั่งของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักฟูกของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักหมอนของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานประตูของสงฆ์ แล้วมีความ รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิด อย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานหน้าต่างของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักไม้กลอนของสงฆ์ แล้วมีความ รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิด อย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องของมีเจ้าของ ไม่ควรนำไปใช้
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้สำหรับวิหารของ อุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งอื่น จึงอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระผู้ เป็นเจ้าทั้งหลายจึงได้นำเครื่องใช้สอยในที่อื่นไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องของมีเจ้าของ ควรขอยืม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไป แม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว ฯ
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่สกุลอุปัฏฐากของ ภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองจัมปาแล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนาจะดื่มยาคูที่ปรุงด้วยของ ๓ อย่าง ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกา นั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความรังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีอันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทาไปสู่สกุลอุปัฏฐากของภิกษุณี ถุลลนันทาในเมืองราชคฤห์แล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนาจะฉันขนมรวงผึ้ง ตนสั่งให้เขาทอดแล้ว นำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความรังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
[๑๗๒] ก็โดยสมัยนั้นแล คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชุกะในเมืองเวสาลี มีเด็กชาย ๒ คน คือ บุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้งนั้นท่านคหบดีได้สั่งคำนี้ไว้กะท่านพระอัชชุกะ ว่า พระคุณเจ้าข้า บรรดาเด็ก ๒ คนนี้ เด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส พระคุณเจ้าพึงบอกสถานที่ ฝังทรัพย์นี้แก่เด็กคนนั้น ดังนี้แล้วได้ถึงแก่กรรม ครั้นสมัยต่อมา หลานชายของคหบดีนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงท่านพระอัชชุกะได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็กหลานชายๆ นั้น ได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้นแล้ว ภายหลัง บุตรชายคหบดีนั้น ได้เรียนถามเรื่องนี้กะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่าน พระอานนท์ ใครหนอเป็นทายาทของบิดาบุตรชายหรือหลานชาย ท่านพระอานนท์ตอบว่า คุณ ธรรมดาบุตรชายเป็นทายาทของบิดา บุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอัชชุกะนี้ ได้บอกทรัพย์สมบัติของกระผมให้แก่คู่ แข่งขันของกระผม อา. คุณ ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ ลำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ขอท่าน ได้โปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมด้วยเถิด ก็ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะท่านจึงถามท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ภิกษุใดอันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่ บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ? อา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติสักน้อย โดยที่สุดแม้เพียงอาบัติทุกกฏ อุ. อาวุโส ท่านพระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้โปรดบอกสถานที่ฝัง ทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ท่านพระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเมืองพาราณสี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะในเมืองพาราณสี ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก ๒ คน ถูกพวกโจรนำตัวไป ครั้งนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะนำเด็ก ๒ คน นั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก ๒ คน นั้นแล้ว ต่างพากันเลื่อมใสใน ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นอย่างยิ่งว่า นี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิลินทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระปิลินทวัจฉะจึงได้นำเด็กที่ถูกพวกโจรนำตัวไปแล้ว คืนมาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุผู้มีฤทธิ์.
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑกะ ๑ ชื่อกปิละ ๑ เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไป เมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่ ที่เท้า ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพ เมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรี เลี้ยงโคนั้น ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรมฯ
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
[๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ถูกความ กระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผม ไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้ฯ ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคาผ้าโพกนั้น ราคา ไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดี ยิ่งนักแล.
ปาราชิกสิกขาบท ที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๑๐๐-๗๔๓๕ หน้าที่ ๒๗๕-๒๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=7100&Z=7435&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=7100&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=21              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=126              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=1&A=1994#152top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=9590              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=1&A=1994#152top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=9590              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj2/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj2:6.4.13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]