ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ

๑๒. โลหิจจสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ
[๕๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกา สมัยนั้น โลหิจจพราหมณ์ ปกครองหมู่บ้านสาลวติกา ซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุ์ ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระ ราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย (ส่วนพิเศษ) [๕๐๒] สมัยนั้น โลหิจจพราหมณ์มีความคิดเห็นชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะ หรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะ ไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออก แล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความ โลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ [๕๐๓] โลหิจจพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า “พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จ ผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกาโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมี กิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก นี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระ อรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ

[๕๐๔] ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์เรียกช่างกัลบกชื่อโรสิกะมาสั่งว่า “มานี่แน่ะ เพื่อนโรสิกะ ท่านจงไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลถามพระสมณโคดมถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญตาม คำของเราว่า โลหิจจพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธ น้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และท่านจงกราบทูลว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์ ในวันพรุ่งนี้เถิด” [๕๐๕] โรสิกกัลบกรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “โลหิจจพราหมณ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึง สุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของ โลหิจจพราหมณ์ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณี [๕๐๖] ทีนั้น โรสิกกัลบกทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง ลุกจากที่นั่ง กราบพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ แล้วบอกว่า “ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตามคำของท่านว่า ‘โลหิจจ- พราหมณ์ทูลถามพระผู้มีพระภาค ... ในวันพรุ่งนี้เถิด’ และพระผู้มีพระภาคนั้นก็ทรง รับนิมนต์แล้ว” [๕๐๗] ครั้นล่วงราตรีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้จัดของขบฉันอย่างดีไว้ใน นิเวศน์ของตน เรียบร้อยแล้ว เรียกโรสิกกัลบกมาสั่งว่า “มานี่แน่ะ เพื่อนโรสิกะ ท่าน จงไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมแล้วกราบทูลภัตกาลว่า ท่านพระโคดม ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว” โรสิกกัลบกรับคำของโลหิจจพราหมณ์แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์

[๕๐๘] ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ เข้าไปยังหมู่บ้านสาลวติกาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โรสิกกัลบกตามเสด็จไปเบื้องพระ ปฤษฎางค์ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์มีความคิดเห็น ชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้ว ไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบ อย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาสเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงปลด เปลื้องโลหิจจพราหมณ์ออกจากความคิดเห็นอันชั่วร้ายนั้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โรสิกะ นั่นเป็นหน้าที่ของเรา” ทีนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโลหิจจพราหมณ์แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ โลหิจจพราหมณ์ประเคนของขบฉันอย่างดีแด่ภิกษุสงฆ์ที่ มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานด้วยตนเองจนอิ่มหนำ
ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์
[๕๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์ โลหิจจพราหมณ์ จึงนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคตรัสถามโลหิจจพราหมณ์ว่า “โลหิจจะ ทราบว่า ท่านมีความ คิดเห็นชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อ บรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบ เหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เรา เรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใด จะช่วยผู้สอนได้’ ดังนี้ เป็นความจริงหรือ” เขาทูลตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โลหิจจะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ท่าน ปกครองหมู่บ้านสาลวติกามิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์

เขาทูลตอบว่า “เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘โลหิจจ- พราหมณ์ปกครองหมู่บ้านสาลวติกาก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในหมู่บ้าน สาลวติกาแต่เพียงผู้เดียว ไม่ควรแบ่งให้ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้จะชื่อว่าทำความ เดือดร้อนให้แก่คนที่อาศัยท่านเลี้ยงชีพใช่หรือไม่” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อทำความเดือดร้อนให้ จะชื่อว่าหวัง ประโยชน์หรือไม่หวังประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “ผู้ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่ามีเมตตาจิต หรือชื่อว่าคิดเป็นศัตรูกับคนเหล่านั้นเล่า” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อคิดเป็นศัตรู จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิเล่า” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน” [๕๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่า อย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปกครองแคว้นกาสีกับแคว้นโกศลมิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ผู้ที่กล่าวว่า ‘พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงปกครองแคว้นกาสีกับแคว้นโกศล พระองค์ก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดใน แคว้นทั้งสองแต่เพียงลำพัง ไม่ควรพระราชทานให้แก่ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้จะ ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่ท่านและแก่คนอื่นซึ่งอาศัยพระบรมโพธิสมภารของ พระองค์เลี้ยงชีพใช่หรือไม่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์

เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อทำความเดือดร้อนให้ จะชื่อว่า หวัง ประโยชน์หรือไม่หวังประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “ผู้ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่ามีเมตตาจิต หรือชื่อว่าคิดเป็นศัตรูกับคนเหล่านั้นเล่า” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อคิดเป็นศัตรู จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิเล่า” เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน [๕๑๑] โลหิจจะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ผู้กล่าวว่า ‘โลหิจจพราหมณ์ปกครอง หมู่บ้านสาลวติกาก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในหมู่บ้านสาลวติกาแต่เพียงผู้เดียว ไม่ควรแบ่งให้ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่คนที่อาศัยท่าน เลี้ยงชีพ เมื่อทำความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อ ว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน ผู้ที่กล่าว ว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอน คนผู้อื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่อง จองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่าง นี้ว่าเป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ ผู้ที่กล่าว อย่างนี้ชื่อว่า ทำความเดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อาศัยธรรมวินัยที่เราแสดง แล้วบรรลุคุณวิเศษ คือ ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง ทำให้แจ้งสกทาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอนาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอรหัตตผลบ้าง และชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้ แก่เหล่ากุลบุตรผู้อบรมคุณธรรมให้แก่กล้าเพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ยิ่งขึ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท

เมื่อทำความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็น ศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติ อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน [๕๑๒] โลหิจจะ คนที่กล่าวว่า ‘พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปกครองแคว้นกาสี กับแคว้นโกศล พระองค์ก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในแคว้นทั้งสองแต่เพียง ลำพัง ไม่ควรพระราชทานให้แก่ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ชื่อว่า ทำความเดือดร้อนให้ แก่ท่านและแก่คนอื่นซึ่งอาศัยพระบรมโพธิสมภารของพระองค์เลี้ยงชีพ เมื่อทำ ความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อ คิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน ผู้ที่กล่าวว่า ‘สมณะหรือ พราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มี ผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภ อันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ ผู้กล่าวอย่างนี้ชื่อว่าทำความ เดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อาศัยธรรมวินัยที่เราแสดงแล้วบรรลุคุณวิเศษ คือ ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง ทำให้แจ้งสกทาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอนาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอรหัตตผลบ้าง และชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อบรม คุณธรรมให้แก่กล้าเพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ยิ่งขึ้นไป เมื่อทำความเดือดร้อนให้ ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรก หรือกำเนิดเดรัจฉาน
ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท
[๕๑๓] โลหิจจะ ศาสดา ๓ ประเภทต่อไปนี้ สมควรถูกทักท้วง ทั้งการ ทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนั้นก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ ศาสดา ๓ ประเภทเป็นเช่นไร คือ (๑) โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต ยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท

ความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย แห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุรุษที่ประชิดตัวสตรีผู้กำลังถอยหนี หรือ เปรียบเหมือนบุรุษสวมกอดสตรีที่หันหลังให้ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน เราเรียกข้อ เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้ สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๑ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วง ศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๔] (๒) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่ง หมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไป บวชเป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุด มุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนคนผู้ละเลยนาของตน เข้าใจนาของ ผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นเดียวกัน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภท ที่ ๒ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๕] (๓) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง

ความเป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความ สุขแก่พวกท่าน’ แต่สาวกของเขากลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยง ที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความ เป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขแก่ พวกท่าน แต่สาวกของท่านกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยงที่จะ ประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้าง เครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอัน ชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๓ ซึ่ง สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ โลหิจจะ ศาสดา ๓ ประเภทเหล่านี้แล สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของ ผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ”
ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง
[๕๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่าน พระโคดม ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีบ้างไหม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีอยู่” เขาทูลถามว่า “ศาสดาประเภทนี้เป็นเช่นไร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑- (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมา ใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทัก ท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ และควรดูเทียบจนถึงข้อ ๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก

มีโทษ ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การ ทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอด เยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัด ว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง นี้อีกต่อไป โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่ สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ”
โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๑๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กำลังจะตกเหวคือนรก แต่ท่านพระโคดมช่วยฉุดให้ กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น เปรียบเหมือนคนผู้หนึ่งคว้าผมของอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังจะ ตกเหวแล้วฉุดให้กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อม ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โลหิจจสูตรที่ ๑๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=7899&Z=8548                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=351              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=351&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=8573              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=351&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=8573                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i351-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i351-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.12.0.than.html https://suttacentral.net/dn12/en/sujato https://suttacentral.net/dn12/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :