ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
[๒๗๗] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๗๘] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง สร้างกุฎีให้ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็น พื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็น บทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ ทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๗๙] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ ประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการฉันอยู่ ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ ระงับ ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

[๒๘๐] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ซึ่งสงฆ์ ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี ที่ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๘๑] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวด อุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ พยายาม ๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน เป็นบทๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๖. ภิกษุไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ ให้เก้อเขิน ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำ ด้วยถ้อยคำบ่งถึงชาติกำเนิดต่ำ ต้องอาบัติทุพภาสิต ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติทุกกฏ (๖) กองอาบัติทุพภาสิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๒. กตาปัตติวาร

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๘๒] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างคือ ๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ ฉันอยู่ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๘๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา

บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติ ปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๗๕-๓๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=6409&Z=6540                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=867              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=867&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=867&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:38.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.3



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :