ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา

๑๐. โจทกจุทิตกปฏิสังยุตตกถา
ว่าด้วยเรื่องของผู้โจทก์และผู้ถูกโจท
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลที่ควร จึงสมควรเดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง จึงสมควรเดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ จึงสมควรเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ ประกอบด้วยประโยชน์ จึงสมควรเดือดร้อน ๕. ท่านมีจิตมุ่งร้าย๑- โจท ไม่มีเมตตาจิต จึงสมควรเดือดร้อน อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง เหล่านี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุแม้อื่นไม่พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วย เรื่องไม่จริง”
เรื่องผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือด ร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ @เชิงอรรถ : @ อนฺตร ใช้ในอรรถว่า จิตฺตโทสนฺตโร...ฯ ทุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (วิ.อ. ๓/๔๐๐/๔๐๔) “โทสนฺตโร”ติ เอตฺถ @อนฺตรสทฺโท จิตฺตปริยาโย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๐/๕๑๙, วิมติ.ฏีกา ๒/๔๐๐/๓๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๐๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา

๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลที่ควร จึงไม่สมควร เดือดร้อน ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง จึงไม่สมควร เดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ จึงไม่สมควร เดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทเพราะความมุ่งร้าย ไม่ใช่ถูกโจทเพราะเมตตาจิต จึงไม่ สมควรเดือดร้อน อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างเหล่านี้”
เรื่องผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วย อาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึง เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ท่านโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่โจทโดยกาลไม่ควร จึงไม่สมควรเดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง จึงไม่สมควรเดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ จึงไม่สมควรเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน ๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ได้มุ่งร้าย จึงไม่สมควรเดือดร้อน อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นก็พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วยเรื่องจริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๐๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา

ผู้ถูกโจทโดยชอบธรรมต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือด ร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่กาลอันไม่ควร จึงสมควรเดือดร้อน ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่จริง จึงสมควรเดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่คำหยาบ จึงสมควรเดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ไม่เป็นประโยชน์ จึงสมควร เดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะมุ่งร้าย จึงสมควรเดือดร้อน อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้”
คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ ๕ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการ คุณสมบัติภายในตนเท่าไรแล้วจึงโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึง มนสิการคุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ ๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์ ๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ ๕. ยึดวินัยไว้เป็นแนวทาง อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการคุณสมบัติภายในตน ๕ อย่างเหล่านี้ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๐๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ

ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ อย่าง คือ ๑. ความจริง ๒. ความไม่ขุ่นเคือง
ทุติยภาณวาร จบ
ปาติโมกขฐปนขันธกะที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๐๕-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=5978&Z=6060                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=506              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=506&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=506&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/brahmali#pli-tv-kd19:5.3.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#Kd.19.5.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :