ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
             สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
             พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
             สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมใน ๒ แห่งแก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหาร ๒ แห่ง แก่ภิกษุรูปเดียว รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วมอบให้ ผู้อื่น รูปใดรับนวกรรมแล้วมอบให้ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน เสนาสนะของสงฆ์ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือ เอาที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอก สีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันอยู่ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน ตลอด เวลา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กันไว้ชั่ว ๓ เดือน ฤดูฝน แต่ไม่ให้กีดกันไว้ตลอดฤดูกาล” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วหลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติม- วัตถุบ้าง๑- ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ @เชิงอรรถ : @ อันติมวัตถุ หมายถึง อาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญา เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง ปฏิญญาเป็นคนลักเพศบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญญาเป็นสัตว์ ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญญาเป็น ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ ให้แตกกันบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญญาเป็น อุภโตพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว หลีกไป สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย” ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึก ฯลฯ มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่าย เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญา เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญา เป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็น ผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญา เป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญา เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่า ได้เสียหาย” ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ ฯลฯ มรณภาพ ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่น ด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย” ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไป เมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อทำเสร็จแล้ว ฯลฯ มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ผู้บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะ เวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็น ผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็น สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคน ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ
อัญญตรปริโภคปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยการห้ามใช้เสนาสนะผิดที่เป็นต้น
[๓๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหารของ อุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงนำเครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่งไปใช้สอยในที่แห่งหนึ่งเล่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำ ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดนำไปใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”๑-
เรื่องทรงอนุญาตให้ยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว”๑-
เรื่องทรงอนุญาตให้เก็บรักษาเสนาสนะ
สมัยนั้น วิหารหลังใหญ่ของสงฆ์เกิดชำรุด ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นำ เสนาสนะออกไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเก็บรักษาไว้”
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๑)
สมัยนั้น ผ้ากัมพลราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ แก่ผาติกรรม”๒- @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๕๗/๑๓๐ @ ผาติกรรม หมายถึงการทำให้เพิ่มพูนโดยนำไปแลกเปลี่ยนกับเตียงตั่งเป็นต้นที่มีราคาเท่ากันหรือมีราคา @มากกว่า ไม่ให้ต่ำว่าราคาของเดิม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๔/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๒)
สมัยนั้น ผ้าราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ แก่ผาติกรรม”
เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้ มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า” สมัยนั้น เครื่องเช็ดเท้าทรงกลมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า” สมัยนั้น ผ้าท่อนน้อยเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า”
เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปื้อนเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล้างเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเท้าเปียกไม่พึงเหยียบเสนาสนะ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๔๗-๑๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2699&Z=2802                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=296              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=296&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8079              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=296&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8079                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:17.2.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.17.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :