ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๗. ติณวัตถารกะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการประนีประนอม
เรื่องภิกษุก่อความวุ่นวาย
[๒๑๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาท กันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วย วาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางที อธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน ก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุใน หมู่นั้นปรึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิด สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๖}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๗. ติณวัตถารกะ

กาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยติณวัตถารกะ”
วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอย่างนี้ ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ๑- เว้น อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์”๒- ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่าน ทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน @เชิงอรรถ : @ อาบัติที่มีโทษหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๒๑๓/๒๙๕) @ อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ คืออาบัติที่ต้องเพราะด่า,ขู่คฤหัสถ์และเพราะรับคำของคฤหัสถ์(แล้วไม่ทำตาม) @(วิ.อ. ๓/๒๑๓/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๗}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๗. ติณวัตถารกะ

ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่อง ด้วย คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน” ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศ ให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลาง สงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อ ประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน” [๒๑๓] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๘}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๗. ติณวัตถารกะ

นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” [๒๑๔] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๙}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติ เหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความ เห็น เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น
ติณวัตถารกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๒๖-๓๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8665&Z=8774                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=625              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=625&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=625&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:13.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.12.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :