ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๓. อุปนันทสักยปุตตวัตถุ

๒๒๓. อุปนันทสักยปุตตวัตถุ
ว่าด้วยพระอุปนันทศากยบุตร
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปอาวาสใกล้บ้าน
[๓๖๔] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้ เดินทางไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น ประสงค์จะแบ่งจีวร จึงประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน พวกภิกษุจะแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้ ท่านจะยินดีส่วนแบ่งไหม” ท่านพระอุปนันทะตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมขอยินดีส่วนแบ่งด้วย” ได้รับ ส่วนจีวรจากอาวาสนั้นแล้วเดินทางไปอาวาสอื่น แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ ประสงค์จะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน แม้พวกภิกษุเหล่านั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน พวกภิกษุจะแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้ ท่านจะยินดีส่วนแบ่งไหม” ท่านพระอุปนันทะตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมขอยินดีส่วนแบ่งด้วย” ได้รับ ส่วนจีวรจากอาวาสนั้น ถือจีวรห่อใหญ่เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถีตามเดิม ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก จีวรจึง เกิดขึ้นแก่ท่านเป็นจำนวนมาก” ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมจะมีบุญมาจากไหนกัน ผม จำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้ ได้เดินทางไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง พวกภิกษุใน อาวาสนั้นประสงค์จะแบ่งจีวรจึงได้ประชุมกัน พวกภิกษุเหล่านั้นกล่าวกับผมอย่างนี้ ว่า ‘ท่าน พวกภิกษุจะแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้ ท่านจะยินดีส่วนแบ่งไหม’ ผมตอบ ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมขอยินดีส่วนแบ่งด้วย’ ได้รับส่วนจีวรจากอาวาสนั้นแล้วเดิน ทางไปอาวาสอื่น แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นประสงค์จะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน แม้พวกภิกษุเหล่านั้นก็กล่าวกับผมอย่างนี้ว่า ‘ท่าน พวกภิกษุจะแบ่งจีวรของสงฆ์ เหล่านี้ ท่านจะยินดีส่วนแบ่งไหม’ ผมตอบว่า ‘ผมขอยินดีส่วนแบ่งด้วย’ ได้รับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๓. อุปนันทสักยปุตตวัตถุ

ส่วนจีวรจากอาวาสนั้นแล้วเดินทางไปอาวาสอื่น แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้น ประสงค์จะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน แม้พวกภิกษุเหล่านั้นก็กล่าวกับผมอย่างนี้ว่า ‘ท่าน พวกภิกษุจะแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้ ท่านจะยินดีส่วนแบ่งไหม’ ผมตอบว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมขอยินดีส่วนแบ่งด้วย’ ได้รับจีวรแม้จากอาวาสนั้น จีวรเป็น จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่ผมอย่างนี้” พวกภิกษุถามว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้วยังยินดีส่วน จีวรในวัดอื่นอีกหรือ” ท่านพระอุปนันทะกล่าวยอมรับตามนั้น บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรจำพรรษาในวัดหนึ่งจึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่นอีกเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ฯลฯ อุปนันทะ ทราบว่าเธอจำพรรษาในวัดหนึ่ง แล้วยังยินดีส่วนจีวรในวัดอื่นอีก จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจำพรรษา ในวัดหนึ่งแล้วยังยินดีส่วนจีวรในวัดอื่นอีกเล่า โมฆบุรุษ การทำอย่างนี้มิได้ทำให้คน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไม่พึงยินดีส่วน จีวรในวัดอื่นอีก รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาใน ๒ อาวาส
สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรูปเดียวจำพรรษาอยู่ใน ๒ อาวาส เพราะคิดว่า “ด้วยอุบายนี้ จีวรจะเกิดขึ้นแก่เรามาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๔. คิลานวัตถุกถา

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเราจะให้ส่วนแบ่งแก่ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ตามความประสงค์ ส่วนหนึ่งแก่โมฆบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีที่ภิกษุรูปเดียวจำพรรษาอยู่ใน ๒ อาวาสเพราะคิดว่า ‘ด้วยอุบายนี้จีวรจะเกิดขึ้นแก่เรามาก’ ถ้าภิกษุจำพรรษาใน อาวาสโน้นกึ่งหนึ่ง ในอาวาสโน้นอีกกึ่งหนึ่ง ก็พึงให้ส่วนจีวรอาวาสละกึ่งหนึ่ง หรือให้ส่วนจีวรในอาวาสที่เธอจำพรรษามากกว่า”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๓๗-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4313&Z=4356                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=165              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=165&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4990              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=165&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4990                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:25.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.24.6



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :