ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสมัตติกถา

๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสัมมติกถา
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
เรื่องทายกนำจีวรกลับคืน
[๓๔๒] สมัยนั้น คนทั้งหลายถือจีวรมาสู่อาราม หาภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับไม่ได้ จึงนำจีวรกลับไป จีวรจึงเกิดแก่ภิกษุน้อย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๕ อย่างเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักจีวรที่รับไว้และจีวรที่ยังมิได้รับไว้
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่ รับจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ท่านรูปนั้น พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสัมมติกถา

ก็สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับจีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นเองแล้ว หลีกไป จีวรจึงเสียหาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักจีวรที่เก็บไว้และจีวรที่ยังมิได้เก็บไว้”
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา

๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
ว่าด้วยการสมมติเรือนคลังเป็นต้น
เรื่องสมมติเรือนคลัง
[๓๔๓] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวรถูกหนูและปลวกกัดกิน ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติเรือนคลังที่สงฆ์ จำนงหวังคือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ
วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติเรือนคลัง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลัง นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลังแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
เรื่องเจ้าหน้าที่รักษาผ้าในเรือนคลัง
สมัยนั้น จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ไม่มีผู้ดูแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มี คุณสมบัติ ๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักจีวรที่รักษาไว้และจีวรที่ยังมิได้รักษาไว้
วิธีสมมติและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา เรือนคลัง ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
เรื่องทรงห้ามย้ายเจ้าหน้าที่เรือนคลัง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง ไม่ควรให้ย้าย ภิกษุใดให้ย้าย ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=3734&Z=3818                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=141              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=141&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4693              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=141&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4693                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.4.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :