ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
ว่าด้วยการทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
เรื่องกรุงเวสาลีหาอาหารได้ง่าย
[๒๙๕] สมัยนั้น กรุงเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาต หาได้ง่าย พระอริยะบิณฑบาตยังชีพได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มีพระดำริดังนี้ว่า “อาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าไม่งอกงาม บิณฑบาต หาได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา

แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด ในป่า ที่เกิดในกอบัว๑- ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันภัตตาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ” ครั้นเวลาเย็นจึงเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาถามว่า “อานนท์ อาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาอาหารที่เกิดในป่า และที่เกิดในกอบัว ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันอาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ”
เรื่องทรงห้ามอาหารที่หุงต้มภายในเป็นต้น
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ภิกษุยังฉันอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราห้ามอาหารเหล่านั้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าไม่งอกงาม บิณฑบาต หาได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด ในป่า ที่เกิดในกอบัว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้ม ภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ผู้ใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ไม่พึงฉันอาหารที่นำมา @เชิงอรรถ : @ อาหารที่เก็บไว้ภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตวุฏฐะ @ที่หุงต้มภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตปักกะ @ที่หุงต้มเอง แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า สามปักกะ @ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อุคคหิตปฏิคคหิตกะ @ที่นำมาจากที่นิมนต์ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ตโตนีหฏะ @ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ปุเรภัตตปฏิคคหิตกะ @ที่เกิดในป่า แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า วนัฏฐะ @ที่เกิดในกอบัว แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า โปกขรัฏฐะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา

จากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิดในป่า ที่เกิดในกอบัว ซึ่งเป็น อาหารที่ไม่เป็นเดน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑-
เรื่องฝนตั้งเค้า
สมัยนั้น คนทั้งหลายในชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้างเป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวงล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหาร คอยว่า “พวกเราจะทำภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส” ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว คนเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด พวกเราบรรทุก เกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้าง เป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวง ล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหารนี้เอง ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว พวกเราจะ ปฏิบัติอย่างไรเล่า” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “อานนท์ ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารอยู่สุด เขตวัดให้เป็นกัปปิยภูมิ แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์มุ่งหวัง คือ ในวิหาร เรือน มุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ”
วิธีสมมติกัปปิยภูมิและกรรมวาจาสมมติ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสมมติกัปปิยภูมิอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติวิหารชื่อ นี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี่เป็นญัตติ @เชิงอรรถ : @ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเคี้ยวฉันของที่ไม่เป็นเดน ตามความใน @สิกขาบทที่ ๕ แห่งโภชนวรรค (วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๗-๒๓๘/๓๙๔-๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง วิหารชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” สมัยนั้น ชาวบ้านต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืนส่งเสียงเซ็งแซ่ อยู่ในกัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมในเวลาเช้ามืด ได้ทรงสดับเสียงเซ็งแซ่และเสียง การ้อง จึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเซ็งแซ่อะไร” ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ ๓, ๔ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่อันเป็นกัปปิยภูมิซึ่งสงฆ์ สมมติไว้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกัปปิยภูมิ ๓ ชนิด คือ ๑. อุสสาวนันติกา (กัปปิยภูมิที่ประกาศให้รู้กันแต่เริ่มสร้าง) ๒. โคนิสาทิกา (กัปปิยภูมิเคลื่อนที่ได้) ๓. คหปติกา (เรือนของคหบดีที่เขาถวายให้เป็นกัปปิยภูมิ)
เรื่องพระยโสชะเป็นไข้
สมัยนั้น ท่านพระยโสชะเป็นไข้ คนทั้งหลายนำเภสัชมาถวายท่าน ภิกษุ ทั้งหลายให้เก็บเภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอกจึงถูกสัตว์กินบ้าง ขโมยลักไปบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กัปปิยภูมิที่สงฆ์ สมมติ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คือ๑- ๑. อุสสาวนันติกา (กัปปิยภูมิที่ประกาศให้รู้กันแต่เริ่มสร้าง) ๒. โคนิสาทิกา (กัปปิยภูมิเคลื่อนที่ได้) ๓. คหปติกา (เรือนคหบดีที่เขาถวายให้เป็นกัปปิยภูมิ) ๔. สัมมติกา (กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ)”
สีหภาณวารที่ ๔ จบ
๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ว่าด้วยเมณฑกคหบดีถวายปัญจโครสกับเสบียงเดินทาง
[๒๙๖] สมัยนั้น เมณฑกคหบดีอยู่ในเมืองภัททิยะ ท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ สระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู สายธารข้าวเปลือกไหลตก จากอากาศเต็มฉาง @เชิงอรรถ : @ กัปปิยภูมิ ๔ เป็นชื่อเรียกสถานที่เก็บโภชนาหารสำหรับภิกษุสงฆ์ มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ @๑. อุสสาวนันติกา แปลว่า กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตั้งใจจะให้เป็น @กัปปิยกุฎี เป็นเรือนที่ใช้เป็นห้องครัวมาตั้งแต่แรก คือ เมื่อขณะทำ ก็ช่วยกันทำโดยประกาศให้ได้ยินทั่วกัน @๓ ครั้งว่า “กปฺปิยกุฏึ กโรม” แปลว่า “เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี” @๒. โคนิสาทิกา แปลว่า กัปปิยภูมิเหมือนกับที่โคจ่อม ได้แก่ สถานที่ไม่มีรั้วล้อม แบ่งออกเป็น ๒ @ประเภท คือ วัดที่ไม่มีรั้วล้อม เรียกว่า อารามโคนิสาทิกา กุฎีที่ไม่มีรั้วล้อม เรียกว่า วิหารโคนิสาทิกา @โดยความก็คือ เรือนครัวเล็กๆ ที่ไม่ลงหลักปักฐานมั่นคง สามารถเคลื่อนย้ายได้ @๓. คหปติกา เรือนของคหบดี ได้แก่ เรือนของพวกชาวบ้าน เขาถวายให้ภิกษุสงฆ์เพื่อใช้เป็นกัปปิยกุฎี @สถานที่นั้นอาจเคยเป็นที่อยู่ของภิกษุมาก่อน โดยสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า @จะใช้ที่แห่งนี้เป็นกัปปิยกุฎีหรือกัปปิยภูมิ @๔. สัมมติกา แปลว่า กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ สถานที่หรือกุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันเลือก @ใช้เป็นกัปปิยกุฎี สถานที่นั้นอาจเคยเป็นที่อยู่ของภิกษุมาก่อน โดยสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ @ทุติยกรรมวาจาว่า จะใช้ที่แห่งนี้เป็นกัปปิยกุฎีหรือเป็นกัปปิยภูมิ (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๒-๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๑๖-๑๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2101&Z=2168                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=82              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=81&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4066              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=81&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4066                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:32.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.32.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :