ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา

๓. วัสสูปนายิกขันธกะ
๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตการเข้าจำพรรษา
[๑๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงบัญญัติ การเข้าจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ เชื้อสายศากยบุตรจึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ย่ำติณชาติ อันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็กๆ จำนวนมาก ให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่ประจำที่ ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่ในฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และ ฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์ เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายไป” ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา”
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษาในฤดูฝน
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงเข้าจำพรรษาเมื่อไร หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ

เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “วันเข้าพรรษามีเท่าไรหนอ” จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ วัน๑- คือ วันเข้า พรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไป แล้ววันหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว เดือนหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาหลัง ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเหล่านี้แล”
๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยทรงห้ามเที่ยวจาริกระหว่างพรรษาเป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา
[๑๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าจำพรรษาแล้วก็ยังเที่ยวจาริกไป ในระหว่างพรรษา มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่ ประจำที่ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่ ในฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบ สัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๐/๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ

ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกไปในระหว่างพรรษาเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเข้าจำพรรษาแล้วไม่อยู่จำให้ตลอด ๓ เดือน พรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึงหลีกจาริกไป รูปใดหลีกไปต้องอาบัติ ทุกกฏ”
เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา
[๑๘๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษา ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่เข้าจำพรรษาไม่ได้ รูปใด ไม่เข้าจำพรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษานั้น จงใจ เดินผ่านอาวาสไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาใน วันเข้าพรรษานั้น ไม่พึงจงใจเดินผ่านอาวาสไป รูปใดเดินผ่านไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องการเลื่อนกาลฝน
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อน วันเข้าพรรษาออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้ากระไร ขอพระ คุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าจำพรรษาในชุณหปักษ์๑- ที่จะมาถึง” @เชิงอรรถ : @ ชุณหปักษ์ หมายถึงเดือนต่อไป (วิ.อ. ๓/๑๘๖/๑๔๖) ในที่นี้หมายถึงขึ้น ๑ ค่ำของอีกเดือนหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา”๑-
๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อเขาสร้างวิหารถวายเป็นต้น
เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี ในกรุง สาวัตถีนั้น สมัยนั้น อุบาสกชื่ออุเทนได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ในแคว้นโกศลแล้วส่งทูต ไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนา จะถวายทาน ฟังธรรมและเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายตอบไปว่า “คุณโยม พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุเข้า จำพรรษาแล้วไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนพรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึง หลีกจาริกไป ขอโยมอุเทนจงรอจนกว่าภิกษุอยู่จำพรรษาจนออกพรรษาแล้วจักมา แต่ถ้าโยมมีธุระจำเป็นรีบด่วน ก็ขอให้ถวายวิหารไว้ในสำนักภิกษุที่อยู่ในอาวาส ใน แคว้นโกศลนั่นแหละ” อุบาสกอุเทนจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้สร้าง เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์” @เชิงอรรถ : @ หมายถึงให้คล้อยตามบ้านเมือง แม้ในเรื่องอื่นที่ชอบธรรม ก็พึงคล้อยตาม แต่ไม่พึงคล้อยตามใครๆ @ในเรื่องที่ไม่ชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๑๘๕-๑๘๖/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=67              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=205              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=205&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3289              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=205&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3289                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i205-e.php# https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :