ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
เรื่องทรงอนุญาตภิกษุเถระแสดงธรรมโดยไม่ต้องได้รับอาราธนา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนาก็แสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนาไม่พึงแสดงธรรม ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ เถระแสดงธรรมเองหรือให้อาราธนาภิกษุอื่นแสดง” @เชิงอรรถ : @ ภิกษุเป็นไข้ หรือ จะมรณภาพ หรือคนมีเวรกัน ประสงค์จะฆ่า จึงจับภิกษุนั้น (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑) @ มนุษย์ทั้งหลาย ประสงค์จะให้ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูป เคลื่อนจากพรหมจรรย์ (จะให้สึก) จึงจับภิกษุ @เหล่านั้นไว้ (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๙. วินยปุจฉนกถา

๗๙. วินยปุจฉนกถา
ว่าด้วยการถามพระวินัย
เรื่องถามพระวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับแต่งตั้งก่อน
[๑๕๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็ถามพระวินัยในท่ามกลาง สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงถาม วินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดถาม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้”
วิธีแต่งตั้งเป็นผู้ถาม
ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้ อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
กรรมวาจาแต่งตั้งตนเอง
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าขอถาม พระวินัยกับท่านผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
กรรมวาจาแต่งตั้งผู้อื่น
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ถาม พระวินัยกับท่านผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๘๐. วินยวิสัชชนกถา

เรื่องคุกคามจะฆ่า
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม ได้รับแต่งตั้งแล้ว จึงถามพระวินัยใน ท่ามกลางสงฆ์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ได้รับ แต่งตั้งแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาบุคคลแล้วจึงถามพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์”
๘๐. วินยวิสัชชนกถา
ว่าด้วยการวิสัชนาพระวินัย
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์วิสัชนาพระวินัย
[๑๕๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับแต่งตั้ง ก็วิสัชนาพระวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ได้รับแต่งตั้ง ไม่พึง วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้”
วิธีแต่งตั้งเป็นผู้วิสัชนา
ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้ อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
กรรมวาจาแต่งตั้งตน
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ ถามพระวินัยแล้วขอวิสัชนา อย่างนี้ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๘๑. โจทนากถา

อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
กรรมวาจาแต่งตั้งผู้อื่น
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้อันผู้มีชื่อนี้ ถามพระวินัยพึงวิสัชนา อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง
เรื่องคุกคามจะฆ่าเรื่องที่ ๒
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้มีศีลดีงามได้รับแต่งตั้งแล้ว วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลาง สงฆ์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ได้รับแต่งตั้ง แล้วตรวจดูบริษัท พิจารณาบุคคลแล้วจึงวิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์”
๘๑. โจทนากถา
ว่าด้วยการฟ้องร้อง
เรื่องโจทด้วยอาบัติ
[๑๕๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้ยังไม่ให้โอกาสด้วยอาบัติ ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงโจทภิกษุผู้ยังไม่ได้ให้โอกาสด้วย อาบัติ รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์ขอโอกาส ด้วยคำว่า ขอท่านจงให้โอกาส ผมใคร่จะพูดกับท่าน ดังนี้แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ

เรื่องขอโอกาสก่อนโจท
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม ได้ขอให้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้โอกาสแล้ว โจทด้วยอาบัติ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์แม้เมื่อขอโอกาส แล้ว พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ”
ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คิดว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม ขอให้พวกเรา ให้โอกาสก่อน” แล้วรีบขอโอกาสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุอันควร ต่อภิกษุ ทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงขอโอกาสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุอันควร ต่อภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ รูปใดขอ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อนจึงขอโอกาส”
๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ
ว่าด้วยการคัดค้านทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมเป็นต้น
เรื่องทรงอนุญาตคัดค้านกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม
[๑๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำสังฆกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมใน ท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมใน ท่ามกลางสงฆ์ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ

พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมอยู่เช่นเดิม ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุ ทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม” สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม พากันคัดค้านในเมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปแสดงความเห็น
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงความเห็นได้” ภิกษุทั้งหลายแสดงความเห็นในสำนักของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นแหละ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔-๕ รูป คัดค้าน ให้ภิกษุ ๒-๓ รูปแสดงความเห็น ให้ภิกษุรูปเดียวอธิษฐานใจเสียว่า เราไม่เห็นด้วยกับกรรมนั้น”
เรื่องจงใจยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ให้ได้ยิน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจงใจไม่สวดให้ได้ยินใน ท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เมื่อจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ไม่พึงจงใจสวดไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวดไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีเป็นผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์ มีเสียง เครือดุจเสียงกา จึงมีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุผู้ยก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ

ปาติโมกข์ขึ้นแสดงต้องสวดให้ได้ยินทั่วกัน ส่วนเรามีเสียงเครือดุจเสียงกา เราจะพึง ปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
เรื่องพยายามยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงพยายามด้วยตั้งใจว่า ‘จะสวดให้ได้ยินชัดถ้อยชัดคำ’ เมื่อพยายาม ไม่ต้อง อาบัติ”
เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
สมัยนั้น พระเทวทัตยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์อยู่ด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัท ที่มีคฤหัสถ์อยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอาราธนา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนา ก็ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน ท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงยก ปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=4481&Z=4594                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=168              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=168&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3018              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=168&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3018                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic15.5 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:15.6.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.15.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :