ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา

๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
เรื่องกรุงราชคฤห์
[๑๔๓] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะเดินทางจากอันธกวินทวิหารมายัง กรุงราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ระหว่างทางขณะข้ามแม่น้ำ ถูกน้ำพัดไปหน่อยหนึ่ง จีวรของท่านเปียก ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “อาวุโส ทำไม จีวรของท่านจึงเปียกเล่า” ท่านพระมหากัสสปะกล่าวตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมเดินทางจากอันธกวินท วิหารมายังกรุงราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ระหว่างทางขณะข้ามแม่น้ำ ถูกน้ำพัด ไปหน่อยหนึ่ง เพราะฉะนั้น จีวรของผมจึงเปียก” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมานสังวาสสีมา๑- มีอุโบสถเดียวกัน แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์ก็จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร”๒-
วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกันแห่งใด สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์พึงสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นให้เป็นแดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร นี่เป็นญัตติ @เชิงอรรถ : @ สมานสังวาสสีมา ดู ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๑๖ (เชิงอรรถ) @ แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร แปลมาจากภาษาบาลีว่า “ติจีวราวิปปวาส” หมายถึงสถานที่ที่สงฆ์กำหนด @เป็นเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรโดยไม่ต้องอาบัติ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๗๓-๔๗๖/๑๐-๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกันแห่งใด ที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์พึงสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นให้เป็นแดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถ เดียวกันนั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นสงฆ์ได้สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก ไตรจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสมมติแดนไม่ อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว จึงเก็บจีวรทั้งหลายไว้ในละแวกหมู่บ้าน จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงมีผ้าที่ไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ ภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เหตุใด พวกท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ” ภิกษุทั้งหลายจึงตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกผมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตการสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว’ จึงเก็บจีวรทั้งหลายไว้ใน ละแวกหมู่บ้านอย่างนี้ จีวรเหล่านั้นเสียหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
เรื่องสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
(ติจีวราวิปปวาส)
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจารแห่งหมู่บ้าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๕. สีมาสมูหนนา

วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติ
ติจีวราวิปปวาสสีมาเว้นบ้านและอุปจารบ้าน
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจาร หมู่บ้านอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๔๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจารหมู่บ้าน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันแห่งใด ที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์สมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้าน และอุปจารหมู่บ้าน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศ จากไตรจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สีมานั้นสงฆ์ได้สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจาร หมู่บ้านแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
๗๕. สีมาสมูหนนา
ว่าด้วยการถอนสีมา
เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสมมติสีมา พึงสมมติ สมานสังวาสสีมาก่อน พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะถอนสีมา พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรก่อน พึงถอนสมานสังวาสสีมา ในภายหลัง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๕. สีมาสมูหนนา

วิธีถอนและกรรมวาจาถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
ภิกษุทั้งหลายพึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งใด ที่สงฆ์สมมติไว้แล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตร จีวรนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งใดที่ สงฆ์สมมติไว้แล้ว สงฆ์ถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งนั้นสงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาภายหลัง วิธีถอนและกรรมวาจาถอนสมานสังวาสสีมา
ภิกษุทั้งหลายพึงถอนสมานสังวาสสีมาอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๔๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถ เดียวกันนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันแห่งใดที่ สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์ถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่ เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๖. คามสีมาทิ

สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
๗๖. คามสีมาทิ
ว่าด้วยคามสีมาเป็นต้น
อพัทธสีมา
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสีมาที่สงฆ์ยังไม่ได้ สมมติ ยังไม่ได้กำหนดสีมา ภิกษุสงฆ์อยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมใด เขตของหมู่บ้าน นั้นเป็นคามสีมาบ้าง เขตของนิคมนั้นเป็นนิคมสีมาบ้าง สีมานี้ในหมู่บ้านหรือนิคม ทั้งสองนั้นเป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าไม่มีหมู่บ้านชั่ว ๗ อัพภันดรโดยรอบ สีมานี้ในป่านั้น เป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน
เรื่องอุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา สมุทรทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา ชาตสระ๑- ทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา ภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำ ในสมุทร หรือในชาตสระ ชั่วระยะชายมีสัณฐาน ปานกลาง วักน้ำสาดไปโดยรอบเป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้ในน่านน้ำเหล่านั้น เป็น สมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน
เรื่องสีมาคาบเกี่ยว
[๑๔๘] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ชาตสระ หมายถึงสระที่เกิดเอง ไม่มีใครขุดไว้ น้ำไหลมาจากรอบข้างขังอยู่จนเต็ม (วิ.อ. ๓/๑๔๗/๑๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๗. อุโปสถาเภทาทิ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ คาบเกี่ยวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมมติสีมาทับสีมา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติทับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จะสมมติสีมา เว้นช่องว่าง ในระหว่างสีมาแล้วจึงสมมติสีมา”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=4319&Z=4419                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=162              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=162&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=162&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic12 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:12.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.12.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :