ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓. ธาตุวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๑๘๓] ธาตุ ๑๘ คือ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ [๑๘๔] บรรดาธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้ เรียกว่า จักขุธาตุ (๑) รูปธาตุ เป็นไฉน รูปใดเป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปธาตุ (๒) จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ (๓) โสตธาตุ เป็นไฉน โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้ เรียกว่า โสตธาตุ (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓. ธาตุวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

สัททธาตุ เป็นไฉน สัททะ (เสียง) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ ชื่อสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ (๕) โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยโสตะ (หู) และเสียงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ (๖) ฆานธาตุ เป็นไฉน ฆานะ (จมูก) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ (๗) คันธธาตุ เป็นไฉน คันธะ (กลิ่น) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ (๘) ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น นี้เรียก ว่า ฆานวิญญาณธาตุ (๙) ชิวหาธาตุ เป็นไฉน ชิวหา (ลิ้น) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ (๑๐) รสธาตุ เป็นไฉน รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารสธาตุ บ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ (๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓. ธาตุวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น นี้เรียก ว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑๒) กายธาตุ เป็นไฉน กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียก ว่า กายธาตุ (๑๓) โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ (๑๔) กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ (๑๕) มโนธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่ง จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งกาย- วิญญาณธาตุ หรือการพิจารณาอารมณ์ครั้งแรกในสภาวธรรมทั้งปวง จิต มโน มานัส ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่ เหมาะสมกันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโนธาตุ (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓. ธาตุวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ธัมมธาตุ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับ เนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง บรรดาธัมมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑) สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒) สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓. ธาตุวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่ เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓) รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔) ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน สภาวธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะและเป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ นี้เรียกว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง นี้เรียกว่า ธัมมธาตุ (๕-๑๗) มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง การเกิดดับแห่งมโนธาตุ มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสต- วิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง การเกิดดับแม้แห่งมโนธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยภวังคจิตและธรรมารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ (๑๘)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๔๒-๑๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2252&Z=2366                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=124&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=1921              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=124&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=1921                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb3/en/thittila#pts-s183



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :