ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
ทุกนิทเทส
ปกิณณกทุกะ
อุปาทาภาชนีย์
[๕๙๕] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป อนิจจตารูป และกวฬิงการาหาร
จักขายตนะ
[๕๙๖] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ สัตว์นี้ เคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปที่เห็นได้กระทบได้ด้วย จักษุใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ๒- [๕๙๗] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๔ @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๖/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ รูปที่เห็นได้และกระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบ ที่จักษุใดซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ [๕๙๘] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ จักษุใด เห็นไม่ได้ เคยกระทบ กระทบแล้ว กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบที่รูปซึ่งเห็นได้และกระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุ บ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ [๕๙๙] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เพราะอาศัยจักษุใด จักขุสัมผัสปรารภรูปเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูปเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด จักขุสัมผัสมีรูปเป็นอารมณ์ เคย เกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด เวทนาที่เกิดจาก จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์ เคย เกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
โสตายตนะ
[๖๐๐] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ สัตว์นี้ เคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

ด้วยโสตะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุ บ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ๑- [๖๐๑] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบ ที่โสตะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ [๖๐๒] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ โสตะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ [๖๐๓] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เพราะอาศัยโสตะใด โสตสัมผัสปรารภเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยโสตะใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ อาศัยโสตะใด โสตสัมผัสมีเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยโสตะใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๗/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

ฆานายตนะ
[๖๐๔] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ สัตว์นี้ เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุ บ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ๑- [๖๐๕] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ กลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบที่ฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ [๖๐๖] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ ฆานะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ กลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ [๖๐๗] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสปรารภกลิ่นเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณปรารภกลิ่น เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๘/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาที่เกิดแต่ ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ
ชิวหายตนะ
[๖๐๘] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ สัตว์นี้เคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้ด้วยชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ๑- [๖๐๙] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ รสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึง กระทบที่ชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ [๖๑๐] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ ชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ รสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๙/๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

[๖๑๑] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรสเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรส เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสมีรสเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาที่เกิด แต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ
กายายตนะ
[๖๑๒] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง โผฏฐัพพะ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ๑- [๖๑๓] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ [๖๑๔] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๐/๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ กายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบที่โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ [๖๑๕] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัสปรารภโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัสมี โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัย กายใด เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
รูปายตนะ
[๖๑๖] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใดเป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นได้ และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใดที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใด ที่เห็นได้และกระทบได้ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

จักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า เป็นรูปายตนะ๑- [๖๑๗] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใด เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และ กระทบได้ มีอยู่ จักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่รูปใดซึ่งเห็นได้และกระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุ บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ [๖๑๘] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใด เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่น ที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบ ได้ มีอยู่ รูปใดที่เห็นได้และกระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึง กระทบที่จักษุใดซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ [๖๑๙] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใดที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๒/๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใดที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่ เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัสอาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
สัททายตนะ
[๖๒๐] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ เคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ด้วยโสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ๑- [๖๒๑] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๓/๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบที่เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ [๖๒๒] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียง ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ [๖๒๓] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภเสียงใด โสตสัมผัสอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด ฯลฯ โสตสัมผัสมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนา ที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น สัททายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

คันธายตนะ
[๖๒๔] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุ บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ๑- [๖๒๕] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้ มีอยู่ ฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ [๖๒๖] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ฆานปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะ บ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ [๖๒๗] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๔/๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัสอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณมีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
รสายตนะ
[๖๒๘] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รส ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ด้วยชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ๑- [๖๒๙] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่ ชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะ บ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๕/๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

[๖๓๐] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ชิวหาปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ [๖๓๑] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัสอาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า เป็นรสายตนะ
อิตถินทรีย์
[๖๓๒] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

ปุริสินทรีย์
[๖๓๓] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์๑-
ชีวิตินทรีย์
[๖๓๔] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์๑-
กายวิญญัติ
[๖๓๕] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับ อยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ
วจีวิญญัติ
[๖๓๖] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต นี้ เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

อากาสธาตุ
[๖๓๗] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า เป็นอากาสธาตุ
ลหุตารูป
[๖๓๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น ลหุตารูป
มุทุตารูป
[๖๓๙] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป
[๖๔๐] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
อุปจยรูป
[๖๔๑] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น อุปจยรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

สันตติรูป
[๖๔๒] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป
ชรตารูป
[๖๔๓] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
อนิจจตารูป
[๖๔๔] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
กวฬิงการาหารรูป
[๖๔๕] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้นๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิง- การาหาร รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
อุปาทาภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวารในรูปกัณฑ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๙๐-๒๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=4414&Z=4762                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=515              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=515&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=9084              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=515&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=9084                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.2.3/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en171



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :