ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๕๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นอัพยากฤต @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก

[๕๕๗] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๕๘] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกาย วิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ [๕๕๙] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ [๕๖๐] ทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกขินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น อัพยากฤต ฯลฯ [๕๖๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้ อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก

มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ใน สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๕๖๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่ เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่ เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น อัพยากฤต ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา

ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น อัพยากฤต ฯลฯ [๕๖๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่ เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=3936&Z=4004                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=472              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=472&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=8747              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=472&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=8747                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.9/en/caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :