ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

๑. จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลบท
กามาวจรกุศลจิต
กุศลจิตดวงที่ ๑
[๑] สภาวธรรม๑- ที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตต- ลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใน สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
บทภาชนีย์
[๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ คำว่า สภาวธรรม บาลีคือ ธมฺมา ในพระอภิธรรมนี้ ใช้ในความหมายว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ เป็นแต่ @สภาวธรรมเท่านั้น (อภิ.สงฺ.อ. ๘๖, สัททนีติธาตุมาลา ๔๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่ เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า เจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน จิต๑- มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณ- ขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๗] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๘] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน สมัยนั้น [๙] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น @เชิงอรรถ : @๑-๑ คำเหล่านี้เป็นไวพจน์ของจิตทั้งนั้น (อภิ.สงฺ.อ. ๑๙๑-๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

[๑๐] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๑] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๒] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๓] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ ขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๔] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสตินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๕] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต๒- ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗ @ หมายถึงตั้งอยู่ในอารมณ์โดยไม่หวั่นไหว (อภิ.สงฺ.อ. ๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

[๑๖] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๗] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๘] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์๒- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๑๙] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์๓- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๐] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘ @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗ @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๑] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สัมมาสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๕] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๖] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๗] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๘] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๒๙] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๐] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

[๓๑] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๒] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโลภะ๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๓] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโทสะ๑- ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๔] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะ๑- ที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๓๕] อนภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนภิชฌาที่ เกิดขึ้นในสมัยนั้น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๙๓/๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

[๓๖] อัพยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อัพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘] หิริ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๓๙] โอตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า โอตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๐] กายปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปัสสัทธิที่เกิด ขึ้นในสมัยนั้น [๔๑] จิตตปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๒] กายลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๓] จิตตลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๔] กายมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๕] จิตตมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ใน สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๖] กายกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตาที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๔๗] จิตตกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๘] กายปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๔๙] จิตตปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์

ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๐] กายุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๑] จิตตุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๒] สติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๓] สัมปชัญญะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๔] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๕] วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๕๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
บทภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวาร จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๗-๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=598&Z=847                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=16              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=16&items=58              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=2490              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=16&items=58              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=2490                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.1/en/caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :